บทความ

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
17/05/2022

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
17/05/2022

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร

โดยปรับปรุงการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรรให้เหมาะสมตามความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความเปลี่ยนแปลงทางเศษฐกิจสังคมของประเทศ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548
  2. ในประกาศนี้
    “ที่ดินจัดสรร” หมายความว่า ที่ดินที่ได้รับการจัดสรรตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
    “น้ำทิ้ง” หมายความว่า น้ำเสียจากที่ดินจัดสรรที่ผ่านการบำบัดจนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
  3. ให้แบ่งประเภทของที่ดินจัดสรร ออกเป็น 3 ประเภท คือ
    • ที่ดินจัดสรรประเภท ก มีขนาดตั้งแต่ 500 แปลงหรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่
    • ที่ดินจัดสรรประเภท ข มีขนาดตั้งแต่ 100-499 แปลงหรือเนื้อที่ 19-100 ไร่
    • ที่ดินจัดสรรประเภท ค มีขนาดตั้งแต่ 10-99 แปลงหรือเนื้อที่ต่ำกว่า 19 ไร่
  4. กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรรไว้ ดังต่อไปนี้
    พารามิเตอร์ ค่ามาตรฐาน
    ที่ดินจัดสรร
    ประเภท ก
    ที่ดินจัดสรร
    ประเภท ข
    ที่ดินจัดสรร
    ประเภท ค
    1. ความเป็นกรดและด่าง (pH) 5.5 - 9.0
    2. บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 20 มก./ล. ไม่เกิน 30 มก./ล. ไม่เกิน 40 มก./ล.
    3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไม่เกิน 30 มก./ล. ไม่เกิน 40 มก./ล. ไม่เกิน 50 มก./ล.
    4. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids) ไม่เกิน 1,000 มก./ล. ไม่เกิน 1,300 มก./ล.
    5. ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 1.0 มก./ล.
    6. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 35 มก./ล.
    7. น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) ไม่เกิน 20 มก./ล.
  5. การตรวจสอบมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรรให้ใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้
    พารามิเตอร์ วิธีการตรวจวิเคราะห์
    1. ความเป็นกรดและด่าง pH Meter
    2. บีโอดี บ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิ 20˚C เป็นเวลา 5 วัน และหาค่าออกซิเจนละลายด้วยวิธี
    Azide Modification, Membrane, Optical Probe
    3. ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) Glass Fiber Filter และอบแห้งที่อุณหภูมิ ตั้งแต่ 103 - 105˚C เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชม.
    4. ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids) Glass Fiber Filter และอบแห้งที่อุณหภูมิ ตั้งแต่ 180˚C เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชม.
    5. ซัลไฟด์ (Sulfide) Iodometric Method หรือ Methylene Blue Method
    6. ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) Kjeldahl
    7. น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) สกัดด้วยตัวทำละลายแล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน
  6. การคิดคำนวณจำนวนแปลงของที่ดินตามข้อ 3 ให้ถือตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินที่ได้ทำการจัดสรร
  7. การตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง ตามข้อ 5 ต้องเป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนด หรือตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  8. การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งเพื่อการตรวจสอบมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง ตามข้อ 4 ให้เป็นดังนี้
    8.1 ให้เก็บในจุดระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือจุดอื่นที่สามารถเป็นตัวแทนน้ำทิ้งระบายออกที่ดินจัดสรร ในกรณีการระบายน้ำทิ้งหลายจุดให้เก็บทุกจุด
    8.2 วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง ณ จุดเก็บตัวอย่างตามข้อ 8.1 ให้เก็บแบบจ้วง (Grab Sampling)
  9. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกอจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ที่มา : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี), กรมควบคุมมลพิษ