บทความ

ขั้นตอนการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม
23/06/2023

ขั้นตอนการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม
23/06/2023

ขั้นตอนการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม

ขั้นตอนการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 82 (1) ให้อำนาจเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษสามารถเข้าไปในอาคาร สถานที่และเขตที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือเขตที่ตั้งของระบบบำบัดน้ำเสียของบุคคลใดๆ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในระหว่างเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบสภาพการทำงานของระบบหรืออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อควบคุมการปล่อยทิ้งมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งตรวจบันทึกรายละเอียดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หากเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษตรวจสอบแล้ว พบว่า มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสามารถใช้อำนาจทางปกครองในการออกคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง โรงแรม ปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อควบคุมการปล่อยทิ้งน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ฉะนั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานการวิเคราะห์และสรุปผลการตรวจสอบ จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. การแสดงตนก่อนเข้าตรวจสอบ
เริ่มจากการแนะนำตัวพร้อมแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานควบคุมให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงแรมหรือผู้แทนของโรงแรมทราบ กรณีไม่มีบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษให้แสดงบัตรข้าราชการและสำเนาประกาศกระทรวงที่รัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษแทนบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ เมื่อแนะนำตัวและแสดงบัตรประจำตัวแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้แทนของโรงแรมทราบคือ เหตุแห่งการเข้าตรวจสอบ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และจรรยาบรรณของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ หน้าที่ของเจ้าของหรือผู้ครอบครองเหล่งกำเนิดมลพิษตามที่กฎหมายกำหนด ขั้นตอนการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และขออนุญาตถ่ายภาพขณะตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะระบบบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำทิ้ง และจุดเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง

2. การรวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวป้อง
ข้อมูลโรงแรมที่ตรวจสอบสามารถรวบรวมได้จากการสอบถามเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงแรม หรือผู้แทนของโรงแรมบอผู้นำตรวจสอบ และขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาแล้วบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงในแบบบันทึกการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม และแบบบันทึกการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ/เรื่องร้องเรียนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รายการเอกสารและแหล่งที่มาของเอกสารที่จำเป็นในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม

2.1 ใบอนุญาตประกอบธุชกิจโรงแรม (ร ร. 2)
เป็นหลักฐานสำคัญที่จะนำมาใช้พิจารณาว่าโรงแรมที่ตรวจสอบเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอาคารประเภท ก. ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม (โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 200 ห้องขึ้นไป) และประเภทอาคารประเกท ข. ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมคู่มือตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2) (โรงแรมที่มีจำนวนห้องสำหรับใช้เป็นห้องพักรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือกลุ่มของอาคารตั้งแต่ 0 ห้อง แต่ไม่ถึง 200 ท้อง) หรือไม่ เอกสารดังกล่าวประกอบด้วยชื่อและที่อยู่ผู้ได้รับอนุญาต (บุคคลหรือนิติบุคคล) เลขที่และวันที่ขออนุญาต ชื่อและที่ตั้งโรงแรม จำนวนห้องสำหรับให้เข่าพัก

2.2 ใบอนุญาตเปิดโรงแรม (ร.ร. 5)
เป็นเอกสารหลักฐานที่จะนำมาพิจารณาว่าโรงแรมที่ตรวจสอบเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือไม่ โดยข้อมูลที่สำคัญในใบอนุญาตจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม (ร.ร. 2) ปัจจุบันหากมีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมจะปรับเปลี่ยนชื่อใบอนุญาตเปิดโรงแรม (ร.ร. 5) เป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม (ร.ร. 2)

ใบอนุญาตทั้ง 2 รายการ สามารถติดต่อขอเอกสารได้ที่หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต ณ สถานที่ ดังนี้
(ก) กรุงเทพมหานครให้ติดต่อกรมการปกครอง
(ข) ต่างจังหวัดให้ติดต่อที่ทำการปกครองอำเภอหรือที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอท้องที่ที่โรงแรมตั้งอยู่

2.3 แผนที่ตั้ง/แผนฝังอาคาร/แผนผังระบบห่อรวบรวมน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย และห่อระบายน้ำ
เพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบเขตที่ตั้งของโรงแรม ระบบบำบัดน้ำเสีย จุดที่ระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม หากไม่ได้รับความร่วมมือหรือไม่สามารถหาเอกสารดังกล่าวได้ ให้ติดต่อกับหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม และขอความร่วมมือสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษารายละเอียดข้อมูลจากรายงานการประเบินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2.4 แบบบันทึกรายละเอียดของสถิติข้อมูลการทำงานของระบบงำบัดน้ำเสีย
ตามแบบ ทส. 1 และสรุปรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส. 2 ที่ผ่านมา ซึ่งโรงแรมที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษตามกฎหมาย ต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติ และข้อมูลการจัดทำบันทีกรายละเอียด และรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ให้ตรวจสอบว่ามีการบันทึกรายละเอียด สถิติ ข้อมูลตามแนวทางการปันทึกข้อมูลที่กำหนดในแบบ ทส. 1 หรือไม่ ถ้าไม่ครบถ้วนให้ระบุรายการที่เป็นปัญหาอุปสรรคไม่สามารถดำเนินการบันทึกสถิติข้อมูลได้ สำหรับกรณีที่ไม่มีการบันทึกรายละเอียดสถิติข้อมูลให้ระบุปัญหาอุปสรรค และเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลตังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วน

2.5 เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เข่น ผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำที่ผ่านมา ใบเสร็จค่าน้ำประปา ใบเสร็จค่าไฟฟ้าในส่วนการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ให้ขอเอกสารดังกล่าวจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงแรม หรือผู้นำตรวจแล้วแต่กรณี

3. การตรวจสอบโรงแรม
การตรวจสอบโรงแรบประกอบด้วยขั้นตอนการตรวจลอบการเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเปิดมลพิษ และการความเป็นตัวแทนเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ดังนี้

3.1 การตรวจสอบการเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ
การตรวจสอบการเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรบ โดยการตรวจสอบจำนวนห้องโรงแรมโดยใช้จำนวนห้องพักที่ปรากฎตามใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแร (ร.ร. 2) หรือใบอนุญาตเปิดโรงแรบ (ร.ร. 5) ดังนั้นเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ จึงใช้จำนวนห้องสำหรับให้เช่าพักที่ระบุในใบอนุญาต เป็นจำนวนห้องของโรงแรมที่ตรวจสอบ

กรณีไม่สามารถแลดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม หรือใบอนุญาตเปิดโรงแรมได้ ให้สอบถามรายละเอียดการประกอบกิจการจากผู้นำตรวจ หากพบว่ามีลักษณะการประกอบกิจการธุรกิจโรงแรมและสามารถแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ระบุว่าประกอบกิจการโรงแรม ห้องพักให้เช่า/ห้องพักให้เช่ารายวัน ให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษบันทึกข้อมูลในแบบตรวจสอบให้ชัดเจน และให้ใช้ข้อมูลจากใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนี้ในการออกคำสั่งไปยังผู้ได้รับอนุญาต และแจ้งไปยังหน่วยงานอนุญาตให้ตรวจสอบการประกอบกิจการของต่อไป นอกจากนี้ในการพิจารณาการเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ และเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงแรมค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไชต์ของทางโรงแรมได้อีกทางหนึ่ง หรือประสานข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำหรับประเภทโครงการโรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาค ตามกฎหมายว่าตัวยโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้อง ขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอย ตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากตรวจสอบแล้วพบปัญหาในการพิจารณาการเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษและการคิดจำนวนห้องพักสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากกรณีศึกษา (ภาคผนวก ถ)

3.2 การตรวจสอบความเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองของแหล่งกำเปิดมลพิษ
สำหรับโรงแรม ผู้ที่ถือว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง คือ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดโรงแรมตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

3.3 ข้อยกเว้นในการตรวจสอบและการบังคับทางปกครอง
โรงแรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ให้บริการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมขน และสามารถแสดงหลักฐานการเชื่อมต่อทิ้งเข้ากับระบบบำบัดน้ำเสียรวม (ภาคผนวก ท) ให้รวบรวมข้อมูลโดยไม่ต้องเก็บตัวอย่าง ผู้นำตรวจลงชื่อในแบบบันทึกการตรวจสอบไว้เป็นหลักฐานด้วย เข่น

4.การตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย
การตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ว่าแหล่งกำเนิดมลพิษมีระบบป๋บัดน้ำเสียหรือไม่ มีระบบปาบัดน้ำเสียแต่ละเว้นไม่บำบัดน้ำเสียหรือไม่ น้ำทิ้งมีค่าเป็นไปตามมาตรฐานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาดหรือไม่ ดังนั้น เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษต้องรวบรวมข้อมูลสำคัญ อาทิ ชนิด/ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสีย ขนาดของระบบบำบัดน้ำเสีย ปริมาณน้ำเสียที่เข้าระบบ สภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย จุดระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อม การลักลอบระบายน้ำเสียโดยไม่ผ่านการบำบัด รวมทั้งรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียดังกล่าว เช่น ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านมา แผนการดำเนินงานปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เพื่อประเมินศักยภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย และพิจารณาความสอดคล้องกับผลการตรวจสอบน้ำทิ้งในการบังคับการตามกฎหมาย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

4.1 ประเภทของการบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงแรม
ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงแรม มีทั้งระบบบำบัดน้ำเสียแบบอิสระเฉพาะอาคาร ระบบบำบัดน้ำเสียเฉพาะกลุ่มอาคาร และระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง ซึ่งเจ้าของโครงการสามารถเลือกใช้ได้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือใช้ร่วมกันทั้งสองระบบก็ได้ แต่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ และสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพน้ำทิ้งได้เกณฑ์มาตรฐานตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด ประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงแรม มีดังนี้

4.2 แนวทางการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย

1) การรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ รายละเอียดการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย แผนผัง/แบบแปลนระบบรวบรวมน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียและระบบระบายน้ำ โดยขอถ่านสำเนาเอกสารดังกล่าวจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงแรม หรือผู้แทนของโรงแรม หรือผู้ผู้นำตรวจ หรือหน่วยงานที่ออกใบอนุญาต หากแบบแปลนมีขนาดแผ่นใหญ่ไม่สะดวกในการถ่ายสำเนาให้ใช้วิธีการถ่ายภาพจากแบบแปลนโดยตรง

2) การตรวจรูปแบบชนิดของระบบบำบัดน้ำเสียที่นิมยมใช้สำหรับโรงแรม มีดังนี้

  1. ระบบบำบัดแบบบ่อเกรอะ (Septic Tank) มีข้อสังเกตที่ บ่อเกรอะมีลักษณะเป็นบ่อปิด ซึ่งน้ำซึมไม่ได้และไม่มีการเติมอากาศ โดยทั่วไปมักใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากส้วม แต่จะใช้บำบัดน้ำเสียจากครัวหรือน้ำเสียอื่นๆ ด้วยก็ได้
  2. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อกรองไร้อากาศ (Anaerobic Filter) มีข้อสังเกตที่ ภายในบ่อจะมีชั้นตัวกลาง (Media) บรรจุอยู่ แต่ไม่มีการเติมอากาศ
  3. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อกรองเติมอากาศ (Aerobic Filter) มีข้อสังเกตที่ ภายในบ่อจะมีชั้นตัวกลางบรรจุอยู่ และมีอุปกรณ์การเติมอากาศ พบฟองอากาศจากการเติมอากาศ
  4. ระบบบำบัดแบบเอเอส หรือตะกอนเร่ง (Activated Sludge) มีข้อสังเกตที่ มีบ่อเติมอากาศบ่อตกตะกอน หมุนเวียนตะกอนกลับ และกำจัดตะกอนส่วนเกิน ถ้าไม่มีการหมุนเวียนตะกอนกลับจะเรียกระบบสระเติมอากาศหรือบ่อเติมอากาศ
  5. ระบบบำบัดแบบถังบำบัดสำเร็จรูป (Compact Plant) ข้อสังเกต มีถังพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาสสำเร็จรูป ส่วนกระบวนการบำบัดภายในถังเป้นรูปแบบใดระหว่างกระบวนการกรองไร้อากาศ กรองเติมอากาศ หรือตะกอนเร่ง ให้ระบุในผลการตรวจสอบให้ชัดเจนด้วย
  6. ระบบอาร์บีซี (Rotating Biological Contactor, RBC) มีตัวกลางที่ใช้เป็นที่พักอากาศทั้งหมดวางอยู่ที่มีแกนหมุนซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำในถังเล็กน้อย โดยมีส่วนของแผ่นจมน้ำอยู่จุลินทรีย์จะขยายพันธุ์และเกาะอยู่บนผิวตัวกลางที่หมุนอยู่ การหมุนของแกนหมุนจะทำให้จุลินทรีย์สัมผัสกับน้ำเสียเกิดการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย นอกจากนี้การหมุนของแผ่นขึ้นมาเหนือผิวน้ำยังเป้นการถ่ายเทออกซิเจนในอากาศจากอากาศภายนอกถังเข้าสู่ระบบอีกด้วย
  7. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor, SBR) ข้อสังเกตที่ มีอารเติมอากาศและตกตะกอนเกิดขึ้นในบ่อบำบัดเดียวกัน ลักษณะการทำงานแบบสลับช่วงเวลา โดยมีการเติมน้ำเสีย เติมอากาศและตกตะกอน และปล่อยน้ำทิ้งออกจากระบบเป้นช่วงเวลา คือจะระบายน้ำทิ้งจากหลังจากแยกตะกอนออกจากน้ำแล้วเท่านั้น

3) ข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสีย และการระบายน้ำทิ้ง
การพิจารณากรณีระบบบำบัดน้ำเสียฝังอยู่ใต้ดิน หากไม่มีแบบแปลน และไม่สามารถเปิดฝาปอปาบัด เพื่อตรวจสอบลักษณะองค์ประกอบของระบบบำบัดน้ำเสียได้ ให้ใช้วิธีสอบถามลักษณะองค์ประกอบสำคัญของระบบว่ามีอะไรบ้าง เช่น สอบถามด้วยคำสำคัญ (Keyword) ที่เป็นจุดเด่นของระบบแต่ละชนิด เช่น ปีตัวกลางในบ่อ ปีการเติมอากาศ มีการสูบหมุนเวียนตะกอนกลับมายังบ่อเติมอากาศ หรือไม่ เป็นต้น

กรณีไม่ทราบข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย ควรให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาตาร ผู้แทนอาคารหรือผู้นำตรวจ จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติมหรือประสานขอข้อมูลตังกล่าวจากหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตหรือรับจดทะเบียน ให้ติดตามตรวจสอบใหม่อีกครั้ง หากขณะตรวจสอบไม่มีแบบแปลนหรือเอกสารเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียที่ระบุถึงประเภทระบบบำบัดน้ำเสีย หรือข้อเท็จจริงไม่ตรงกับแบบแปลนหรือเอกสารฯ ให้ใช้ประเภทระบบบำบัดน้ำเสียตามข้อเท็จจริงปัจจุบัน

(1) ขนาดระบบบำบัดน้ำเสีย
การระบุขนาดของระบบบำบัดน้ำเสีย หากมีข้อมูลรายละเอียดการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียให้ยืดตามข้อมูลตังกล่าว กรณีเป็นถังบำบัดสำเร็จรูปจะมีข้อมูลขนาดรองรับน้ำเสียของถังบำบัดน้ำเสียแต่ละรุ่นปรากฎตามรายละเอียดสินค้าที่ผู้ผลิตจัดทำขึ้น

(2) ผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
การดำเนินการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถทำการบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่กฎหมายกำหนดเป็นหน้าที่ของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษซึ่งอาจเป็นการดำเนินการเอง หรือว่าจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการเดินะบบหรือให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน ปรับปรุงแก้ไขระบบ กรณีที่ว่าจ้างที่ปรึกษาให้ระบุชื่อที่อยู่ของที่ปรึกษาเพื่อประโยชน์ในการติดต่อประสานงานด้วย

(3) การเปิดใช้งานระบบบำบัดน้ำเสีย
การตรวจลอบระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อประเมินว่ามีการเปิดใช้งาน หรือเดินระบบบำบัดน้ำเสียตามปกติหรือไม่นั้น เป็นการเก็บรวบรวมพยานทลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจาก มาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535 กำหนดว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีระบบบำบัดน้ำเสียเป้นของตัวเอง ลพเว้นไม่ทำการบำบัดน้ำเสียโดยใช้ระบบบำบัดน้ำเสียของตนที่มีอยู่  และลักลอบปล่อยน้ำทิ้งมลพิษน้ำเสียดังกล่าวออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกของแหล่งที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษของตนจะต้องเสียค่าปรับรายวันในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายประจำวันสำหรับการเปิดเดินเครื่องทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียของตนตลอดเวลาที่ดำเนินการเช่นว่านั้น ดังนั้นเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษต้องีความรู้และเข้าใจการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง

ซึ่งจะกล่าวถึงเทคนิคการสังเกตและอบถามเพื่อให้ได้มาชึ่งข้อเท็จจริงว่ามีการเปิดหรือไม่เปิดใช้งาน

ระบบ มีรายการเครื่องจัก/อุปกรณ์ดที่ขำรุด เพื่อให้สามารถสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตรวจสอบรายการเครื่องจักร/อุปกรณ์สำคัญของระบบบำบัดน้ำเสียแต่ละประเภท

ตรวจสอบการเปิดใช้งานระบบบำบัดน้ำเสีย
สอบถามรายการเครื่องจักร/อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียในแต่ละรายการว่ามีรายการใดที่มีการเปิดใช้งาน มีเครื่องจักร/อุปกรณ์รายการใดที่ไม่ชำรุดแต่ไม่เปิดใช้งาน พร้อมเหตุผลประกอบ หากชำรุดมีแผนการดำเนินงานปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องจักร/อุปกรณ์ดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร สามารถแยกเป็นกรณี ดังนี้

หากได้แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ทราบข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับการชำรุดของเครื่องจักร/อุปกรณ์ ให้ระบุในแบบบันทึกการตรวจสอบว่าไม่สามารถตรวจสอบการชำรุดได้

กรณีที่ตรวจพบอุปกรณ์ชำรุด ให้บันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องกับการบันทึกรายละเอียดสถิติข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส. 1 และสรุปรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามแบบ ทส. 2

5. การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง
เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของน้ำทิ้ง และลดข้อโต้แย้ง ผู้เก็บตัวอย่างต้องเก้บตัวอย่างให้เป็นไปตามวิธีมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้

5.1) กำหนดพารามิเตอร์ที่ต้องตรวจสอบ
5.2) การกำหนดจุดเก็บตัวอย่างน้ำและเทคนิคในการเก็บตัวอย่าง
5.3) ลักษณะน้ำทิ้ง
5.4) แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
5.5) วิธีปฏิบัติในการเก็บตัวอย่างและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

6. การตรวจสอบการดำเนินการตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันที่กรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555

6.1) ให้ตรวจลอบว่าโรงแรม มีการบันทึกรายละเอียดสถิติ ข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามแบบ ทส. 1 หรือไม่
6.2) ให้ตรวจสอบว่าโรงแรม มีการรายงานสรุปรายงานผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ตามแบบ ทส. 2 หรือไม่ และขอสำเนาหลักฐานการจัดส่ง ทส. 2 หากโรงแรม ไม่สามารถแสดงเอกสารตามข้อ 6.1 หรือ 6.2 ให้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

7. การถ่ายภาพ
ภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่แสดงถึงข้อเท็จจริงที่พบในขณะตรวจสอบและใช้ประกอบผลการตรวจสอบ การถ่ายภาพควรตั้งค่าให้แสดงวัน เวลา บนภาพถ่ายไว้ด้วย โดยแสดงรายการภาพถ่ายที่สำคัญ ได้แก่

8. การบันทึกผลการตรวจสอบ
หลังจากรวบรวมข้อมูลและเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งแล้วเสร็จ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะต้องบันทึกข้อมูลการตรวจสอบในเอกสารแบบบันทึก 2 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม และแบบบันทึกการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษ/เรื่องร้องเรียน เมื่อบันทึกข้อมูลและ ผู้ร่วมตรวจสอบลงลายมือชื่อในแบบบันทึกทั้ง 2 ฉบับแล้ว ให้จัดทำสำเนาเอกสารดังกล่าวให้ผู้นำตรวจด้วย แนวทางการบันทึกข้อมูลตามแบบบันทึกทั้ง 2 ฉบับ

9. การตรวจสอบและรับรองผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทั้งจากห่องปฏิบัติการ
กรณีที่มีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ เบื่อส่งตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการจะทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และได้รับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำแล้ว เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องของรหัสตัวอย่าง วัน และเวลาที่เก็บตัวอย่าง พารามิเตอร์ หมายเหตุต่างๆ เช่น ค่าทางสถิติ หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องให้ประสานไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึง ทากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้ง มีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และเมื่อหักลบค่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) จากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ใด้รับการรับรองแล้ว ปรากฎว่า ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้งมีค่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้การพิจารณาเป็นไปตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งซ้ำ หรือเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งเพิ่มของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ยกตัวอย่างเช่น พบว่ามีค่า TKN เท่ากับ 35.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมาตรฐานกำหนดให้ค่า 7KN ต้องมีค่าไม่เกิน 35 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) ของ TKN เท่ากับ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้ผลการวิเคราะห์มีค่าอยู่ในช่วง 34.1-36.1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นไปได้ทั้งกรณีเป็นไปตามมาตรฐานและไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ จะดำเนินการเสนอเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งใหม่อีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการตรวจสอบพร้อมมีหนังสือแจ้งให้แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นทราบ แต่หากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้ง มีค่าเกินมาตรฐาน 2 พารามิเตอร์ขึ้นไป เช่น มีค่า KN เท่ากับ 35.1 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่า B๐D เท่ากับ 35 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งค่า BOD มีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษจะไม่พิจารณาเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งใหม่

เมื่อตรวจสอบใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการว่าถูกต้องแล้ว ให้จัดทำใบรายงานผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำ เสนอหน่วยงานรับรองผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ โดยใบรายงานผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำประกอบไปด้วยข้อมูลชื่อโรงแวม เลขที่ใบอนุญาต สถานที่ตั้ง จำนวนห้องพัก วันและเวลาการเก็บตัวอย่างจุดเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง ชื่อเจ้าหน้ที่ผู้เก็บตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ ค่ามาตรฐาน กรณีวิธีวิเคราะห์ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้หมายเหตุวิธีวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำไว้ด้วย โดยมีเอกสารประกอบการทำใบรายงานผลการตรวจสอบตัวอย่าง

1) (ร่าง) ใบรายงานผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำ
2 ใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำของห้องปฏิบัติการ
3) แบบบันทึกการตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงแรม
4) แบบบันทีกการตรวจสอบแหสงกำเนิดมลพิษ/เรื่องร้องเรียน
5) ใบอนุญาตประกอยธุรกิจโรงแรม (ร.. 2) หรือใบอนุญาตเปิดโรงแรม (ร..5)
6) แบบบันทึกการปรับเทียบเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำ
7) ใบรายงานผลการตรวจสอบครั้งที่ผ่านมา (ถ้ามี)

10. การวิเคราะห์ สรุปผล และรายงานผลการตรวจสอบ
หลังจากได้รับรายงานผลการตรวจสอบตัวอย่างน้ำทิ้ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ

ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้วทำการวิเคราะห์ สรุปผลการปฏิบัติตามกฎหมาย การดำเนินการในขั้นต่อไป โดยเนื้อหาหรือประเด็นสำคัญที่ควรระบุไว้ในรายงานการตรวจสอบ ได้แก่

10.1) ข้อเท็จจริง

10.2) ข้อพิจารณา
เป็นการสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า โรงแรมที่ตรวจสอบเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอาคารประเภท ก. หรืออาคารประเภท ข. หรือไม่ ผลการตรวจสอบน้ำทิ้งมีค่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ ที่ออกตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใด มาตราใด หรือไม่ และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเรื่องนั้นควรระบุให้ชัดเจนว่ากรณีใดเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่จะต้องดำเนินการ

10.3) การดำเนินการ
เมื่อพบว่าโรงแรมที่ตรวจสอบเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอาคารประเภท ก. หรืออาคารประเภท ข.

1) ออกคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีระบบปาบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง สำหรับกรณีแหล่งกำเนิดมลพิษที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย
2) ออกคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ จัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหรือซ่อมแชมระบบบำบัดน้ำเสีย ตามมาตรา 82 (2) สำหรับแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย และผลการวิเคราะห์ ตัวอย่างน้ำทิ้งมีค่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
3) ออกคำสั่งปรับเจ้าของหรือผู้ครอบครองฯ ในอัตราสี่เท่าของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายประจำวันสำหรับการเปิดเดินเครื่องทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบบำบัดน้ำเสียของแหล่งกำเนิดมลพิษ กรณีที่ละเว้นไม่ทำการบำบัดน้ำเสียและลักลอบปล่อยทิ้งน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 82 (3)
4) กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฯ ที่ออกตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ จะดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป