บทความ

ขั้นตอนจัดทำรายงาน ทส.1-2
06/08/2022

ขั้นตอนจัดทำรายงาน ทส.1-2
06/08/2022

ขั้นตอนจัดทำรายงาน ทส.1-2

แนวทางการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล และการบันทึกที่จัดเก็บจากแหล่งกำเนิดมลพิษ

1) ปริมาณใช้ไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย (หน่วย) มีแนวทางการจัดเก็บสถิติข้อมูลดังนี้

    1. กรณีมีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะ ให้บันทึกข้อมูลจำนวนหน่วยที่อ่านได้จากมิเตอร์ ไฟฟ้า (รายวัน)
    2. กรณีไม่ได้ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดฯ โดยเฉพาะ ให้คิดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากอัตราการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่ใช้ ไฟฟ้าทุกชิ้นในระบบบำบัดฯ และระยะเวลาในการใช้งาน อุปกรณ์นั้นในแต่ละวัน คำนวณเป็นปริมาณการใช้ไฟฟ้าใน แต่ละวัน
    3. บันทึก " - " กรณีไม่มีการใช้ไฟฟ้า เช่น เป็นระบบบำบัด น้ำเสียแบบธรรมชาติหรือใช้น้ำมัน เป็นต้น
      - ปริมาณการใช้น้ำ ทุกกิจกรรมใน แหล่งกำเนิดมลพิษ (ลบ.ม.) มีแนวทางการจัดเก็บสถิติ ข้อมูล ดังนี้
      ก. กรณีใช้น้ำประปาทั้งหมดและมีการติดตั้งมาตรวัดน้ำของ แหล่งกำเนิดโดยเฉพาะให้บันทึกข้อมูลปริมาณการใช้น้ำจาก ตัวเลขที่อ่านได้จากมาตรวัดน้ำของแต่ละวัน
      ข. กรณีไม่ได้ติดตั้งมาตรวัดน้ำของแหล่งกำเนิดโดยเฉพาะ ให้เก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำจากอุปกรณ์ที่กักเก็บน้ำใช้ ซึ่ง ทราบปริมาตรที่ชัดเจน เช่น แท็งก์น้ำ และสำหรับแหล่งกำเนิดใดที่แหล่งน้ำใช้บางส่วนมีการติดตั้ง มาตรวัดน้ำ และบางส่วนไม่มีมาตรวัดน้ำ ให้ใช้แนวทางการเก็บ ข้อมูลตามข้อ 1) และ 2) รวมกัน
      ค. กรณีไม่มีทั้งมาตรวัดน้ำ และไม่สามารถเก็บข้อมูลตามข้อ 2) ได้ ให้ประเมินปริมาณการใช้น้ำในแต่ละวันจากอัตราการใช้น้ำเฉลี่ย ของแหล่งกำเนิดนั้นๆ เช่น กรณีสถานที่เลี้ยงสุกรประเมินโดยใช้ ค่าเฉลี่ยอัตราการใช้น้ำของสุกรแต่ละชนิด (คพ., 2553) ดังนี้

      • สุกรพ่อ - แม่พันธุ์ 0.092 ลบ.ม/ตัว/วัน
      • สุกรขุน 0.048 ลบ.ม./ตัว/วัน
      • สุกรอนุบาล 0.032 ลบ.ม/ตัว/วัน
    ทั้งนี้ ในการจัดเก็บสถิติ ข้อมูลให้ใช้แนวทางตามข้อ 1) เป็น หลัก ถ้าไม่มีข้อ 1) ค่อยเลือกใช้แนวทางตามข้อ 2) และ 3) ตามลำดับ

2) ปริมาณน้ำเสียที่เข้าระบบบำบัดน้ำเสีย (ลบ.ม.) มีแนวทางการจัดเก็บสถิติข้อมูลดังนี้

  1. คำนวณจากความเร็วของการไหลในรางน้ำเสีย โดยใช้ เครื่องวัดอัตราการไหล (Flow Meter) และการติดตั้งเวียร์ (Weir)
  2. กรณีมีการสูบน้ำเสียเข้าระบบฯ สามารถเก็บข้อมูลจากขนาด ของเครื่องสูบน้ำและระยะเวลาที่ใช้ในการสูบน้ำเสียในแต่ละวัน
  3. ดูจากเอกสารการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียว่าระบบฯ มี ความสามารถในการรองรับน้ำเสียได้เท่าไร และปัจจุบันมีน้ำเสีย เข้าระบบเท่าไร (กรณีนี้กิจกรรมที่ก่อให้เกิดน้ำ เสียของ แหล่งกำเนิดจะต้องไม่แตกต่างจากตอนออกแบบระบบๆ) ทั้งนี้ หากไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลตามข้อ 1) - 3) ได้ อนุโลมให้ ใช้การประเมินโดยใช้ค่าเฉลี่ยอัตราการเกิดน้ำ เสียของ แหล่งกำเนิดนั้นๆ เช่น กรณีสถานที่เลี้ยงสุกรประเมินโดยใช้ อัตราการเกิดน้ำเสียของสุกรแต่ละชนิด (คพ., 2553) ดังนี้
    • สุกรพ่อ - แม่พันธุ์ 0.046 ลบ.ม./ตัว/วัน
    • สุกรขุน 0.024 ลบ.ม./ตัว/วัน
    • สุกรอนุบาล 0.020 ลบ.ม/ตัว/วัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

บทกำหนดโทษตามมาตรา 80

ที่มา : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 (อุดรธานี)