บทความ

การเปรียบเทียบวิธีเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดินแบบ Passive Diffusion Bag กับวิธีเก็บตัวอย่างแบบสูบน้ำ
07/08/2023

การเปรียบเทียบวิธีเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดินแบบ Passive Diffusion Bag กับวิธีเก็บตัวอย่างแบบสูบน้ำ
07/08/2023

การเปรียบเทียบวิธีเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดินแบบ Passive Diffusion Bag กับวิธีเก็บตัวอย่างแบบสูบน้ำ

การเปรียบเทียบวิธีเก็บตัวอย่างน้ำใต้ดินแบบ Passive Diffusion Bag กับวิธีเก็บตัวอย่างแบบสูบน้ำ

ด้านที่เปรียบเทียบ Passive Diffusion Bag (PDB) การเก็บตัวอย่างแบบสูบน้ำ
ด้านผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม
1.ไม่จำเป็นต้องสูบน้ำในบ่อออก เนื่องจากติดตั้งในบ่อน้ำในระยะยาวทำให้ PDB สัมผัสกับการเคลื่อนที่ของน้ำใต้ดินที่เป็นตัวแทนของชั้นน้ำโดยตรง ทำให้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการดำเนินงาน รวมทั้งไม่ต้องบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนจากการสูบน้ำทิ้ง 1.ต้องสูบน้ำ ในบ่อออกเนื่องจากต้องการตัวอย่างน้ำที่เป็นตัวแทนของชั้นน้ำ ณ เวลาเก็บตัวอย่าง ทำให้ต้องใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องสูบ รวมทั้งจะต้องบำบัดหรือจัดการน้ำที่สูบทิ้งซึ่งอาจมีการปนเปื้อน
2. ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่างจะใช้ได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นการปนเปื้อนข้ามไปมาระหว่างบ่อจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ 2. การใช้เครื่องสูบอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนข้ามไปมาได้เนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์ชุดเดียวกัน
ด้านความถูกต้องของ
ผลการวิเคราะห์
3. สารอื่นไม่สามารถผ่านเยื่อเลือกผ่านได้จึงไม่อาจมีสารอื่นปนเปื้อนมากับตัวอย่างที่เก็บ 3. ตัวอย่างที่เก็บได้จากการสูบน้ำจะมีสารปนเปื้อนหลายชนิด ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของการวิเคราะห์
4. ใช้เก็บตัวอย่างได้เฉพาะสารปนเปื้อนในกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่ายและมีเทน ซึ่งสามารถซึมผ่านเยื่อเลือกผ่านได้ 4. ใช้เก็บตัวอย่างได้ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ทุกชนิดที่อยู่ในค่ามาตรฐาน
5. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างจะไม่ได้รับผลกระทบจากแบคทีเรียและเชื้อรา เนื่องจากก่อนใช้จะบรรจุอยู่ในซองพลาสติกฆ่าเชื้อ และเป็นการใช้ครั้งเดียวไม่มีการใช้ซ้ำ จึงไม่เกิดปัญหาจากแบคทีเรียและเชื้อรา 5. เครื่องสูบอาจได้รับผลกระทบจากแบคทีเรียและเชื้อราหากเก็บรักษาในสภาวะที่ไม่เหมาะสม
6. สามารถเลือกชั้นน้ำในการเก็บตัวอย่างได้ดี 6. สามารถเลือกชั้นน้ำในการเก็บตัวอย่างได้หากใช้วิธี Micro-Purging
ด้านการปฏิบัติงาน
ภาคสนาม
7. ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อย โดยใช้เวลาติดตั้งประมาณ 10 นาที ต่อจุดและใช้เวลาอยู่ที่หน้างานเฉลี่ย 40 นาที ทำให้มีความปลอดภัยสูงกว่า เนื่องจากระยะเวลาของเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนลดลง 7. ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 1 ชม. 45 นาที - 3 ชม. 40 นาที ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสูบน้ำที่ค้างออกจากบ่อ ทำให้เจ้าหน้าที่มีความเสี่ยงเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนเป็นระยะเวลานาน
8. เก็บตัวอย่างได้ในปริมาณที่จำกัด 8. สามารถเก็บตัวอย่างได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด
9. ไม่ต้องทำความสะอาดก่อนใช้งาน 9. จะต้องมีการทำความสะอาดเครื่องสูบก่อนใช้งาน
10. ไม่ต้องบำบัดน้ำแต่จะต้องนำถุงเก็บตัวอย่างที่อาจปนเปื้อนไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น เผาทำลาย 10. จะต้องบำบัดน้ำที่สูบทิ้งออกจากบ่อที่เก็บตัวอย่างเนื่องจากอาจมีสารปนเปื้อน
ด้านค่าใช้จ่าย 11. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างมีราคาถูก เนื่องจากใช้พลาสติกชนิด LDPE ซึ่งไม่ต้องมีการบำรุงรักษา 11. เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์เก็บตัวอย่างที่มีราคาสูงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
12. ต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่าเนื่องจากสามารถดำเนินการได้มากกว่าภายในเวลาเท่ากัน 12. ต้นทุนต่อหน่วยแพงกว่าเนื่องจากใช้เวลานานในการเก็บตัวอย่าง

การเก็บตัวอย่างด้วย PDB นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินโดยเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาที่ติดตั้งอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง จึงไม่มีความจำเป็นต้องสูบน้ำที่ค้างอยู่ในบ่อเดิมทิ้ง ทั้งนี้ การสูบน้ำที่มีอยู่ในบ่อทิ้งนั้นเนื่องจากผู้เก็บตัวอย่างไม่อาจมั่นใจได้ว่าน้ำที่เก็บตัวอย่างนั้น เป็นน้ำใหม่ที่เพิ่งไหลเข้ามาในบ่อน้ำใต้ดินหรือไม่จึงจำเป็นต้องสูบน้ำทิ้งเพื่อให้น้ำใหม่ไหลเข้ามาในบ่อน้ำก่อนการเก็บตัวอย่าง ทั้งนี้ หลักการสามารถ

อ้างอิงได้โดยจากเอกสารทางวิชาการ ตัวอย่างเช่น เว็บไซด์รวบรวมข้อมูล
การฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา US.EPA. Contaminated Site Clean-Up Information(https://clu-in.org/characterization/technologies/default.focus/sec/Passive_(no purge)_Samplers/cat/Diffusion_Samplers/)