Water Analysis

เก็บตัวอย่างน้ำเสีย
(Water Analysis)

เก็บตัวอย่างน้ำเสีย (Water Analysis)

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำหลังผ่านการบำบัด เป็นขั้นตอนที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของของระบบบำบัดน้ำเสีย ดังนั้นการวิเคราะห์คุณภาพน้ำจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลระบบควรต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามตรวจสอบว่าระบบบำบัดน้ำเสียสามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามที่ออกแบบหรือไม่ และน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัดแล้วเป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด จึงสามารถปล่อยออกสู่สาธารณะ หรือออกสู่แหล่งชุมชนได้

ประโยชน์และความสำคัญของการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

  1. ทำให้ทราบคุณลักษณะของน้ำ

    การวิเคราะห์คุณภาพน้ำจะช่วยทำให้ทราบคุณลักษณะของน้ำที่ รวมถึงมลสารที่เจือปนอยู่ในน้ำได้อย่างละเอียด โดยพารามิเตอร์ที่ทำการวิเคราะห์คือ พีเอช (pH) ของแข็งละลายทั้งหมด (Total Dissolve Solids : TDS) ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids : TSS) บีโอดี (BOD) ซัลไฟล์ (Sulfide) ทีเคเอ็น (Total Kjeldah Nitrogen) น้ำมันและไขมัน (Oil & Grease)

  2. ทำให้ทราบแหล่งมลพิษหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย

    เมื่อทราบถึงคุณลักษณะของน้ำจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแล้ว ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ จะแสดงผล และบ่งชี้ถึงแหล่งมลพิษหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย เช่น

    • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารเคมี จะมีค่า COD สูง
    • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีหม้อไอน้ำและระบบหล่อเย็น มักจะมีค่า TDS สูง
    • น้ำเสียจากกิจกรรมการเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง จะมีปริมาณ แอมโมเนีย ฟอสฟอรัส และสารกำจัดศัตรูพืชสูง
    • น้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนจะมีเศษอาหาร น้ำมันและไขมันเป็นหลัก อาจจะมีค่า BOD และค่า Oil & Grease สูง

     

  3. วางแผนวิธีการบำบัดน้ำเสียและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น

    เมื่อทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแล้ว จะทำให้สามารถหาวิธีแก้ไขปรับปรุงคุณภาพน้ำ และเลือกระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างเหมาะสม เช่น การดักขยะ การกำจัดไขมันและน้ำมัน การตกตะกอนทางเคมี และการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่ต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายมลสารในน้ำเสีย