บทความ

การวิเคราะห์ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียและแนวทางการปรับปรุง
07/08/2023

การวิเคราะห์ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียและแนวทางการปรับปรุง
07/08/2023

การวิเคราะห์ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียและแนวทางการปรับปรุง

การวิเคราะห์ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียและแนวทางการปรับปรุง
การวิเคราะห์ปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย และแนวทางการปรับปรุงมีขั้นตอนดังนี้

  1. การตรวจสอบข้อมูล รูปแบบ และรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อดูโครงสร้างระบบบำบัดและใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง
  2. การตรวจสอบปริมาณและลักษณะน้ำเสีย เพื่อควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. การตรวจสอบความสามารถในการรองรับน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสีย
  4. การตรวจสอบสถานภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย ว่ามีความผิดปกติหรือไม่โดยต้องทำทุกวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกรอกแบบ ทส.1 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติ และข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555
  5. วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข ภายหลังการตรวจสอบระบบ ประกอบกับผลน้ำทิ้ง (ถ้ามี) โดยปัญหาและแนวทางการแก้ไข
  6. วางแผนปรับปรุงระบบ โดยกำหนดวิธี ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย
  7. สรุปผลการปรับปรุงระบบ

1. การตรวจสอบข้อมูล รูปแบบ และรายละเอียดระบบบำบัดน้ำเสีย
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียให้มากที่สุด ข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่

2. การตรวจสอบปริมาณและลักษณะของน้ำเสีย
ปริมาณและลักษณะของน้ำเสียที่เข้าระบบเป็นข้อมูลสำคัญในการตรวจสอบระบบ ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบความสามารถในการรองรับน้ำเสียของระบบ การตรวจสอบปริมาณน้ำเสียสามารถทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือการประมาณจากปริมาณการใช้น้ำประปา โดยปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นเท่ากับร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้ประปา ส่วนลักษณะน้ำเสียเข้าระบบต้องส่งไปวิเคราะห์ที่หน่วยงานหรือบริษัทรับวิเคราะห์น้ำเสีย พารามิเตอร์ที่ควรทำการตรวจวัด ดังตาราง

ตาราง พารามิเตอร์ที่ควรทำการตรวจวัดน้ำเสีย

พารามิเตอร์ หน่วย น้ำเสียก่อนการ
บำบัด
น้ำเสีย
หลังผ่าน
การบำบัด
ค่ามาตรฐาน
น้ำทิ้ง
พีเอช - 5.5 – 9.0
ซีโอดี มก./ล. 200 มก./ล.
บีโอดี มก./ล. 20 มก./ล.
สารแขวนลอย มก./ล. 40 มก./ล.
น้ำมันและไขมัน มก./ล. 20 มก./ล.

3. การตรวจสอบความสามารถรองรับน้ำเสียของระบบ
การตรวจสอบความสามารถรองรับน้ำเสียของระบบในปัจจุบันเป็นการนำเอาข้อมูลปริมาณลักษณะน้ำเสีย ขนาดถัง และอุปกรณ์เครื่องจักรกล จากการตรวจสอบข้างต้นมาตรวจสอบรายการคำนวณว่าระบบมีความสามารถรองรับน้ำเสียในปัจจุบันได้หรือไม่ โดยแยกตามหน่วยการบำบัด เช่น บ่อเกรอะ ถังปรับสภาพ ถังเติมอากาศ ถังตกตะกอน ถังสูบตะกอนย้อนกลับและถังสูบน้ำทิ้ง เป็นต้น ผู้ตรวจสอบต้องอาศัยความรู้ด้าน
การออกแบบเบื้องต้น การเปรียบเทียบค่าออกแบบของระบบจริงใน

ปัจจุบันกับค่าเกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) การหาข้อมูลรายละเอียดความสามารถของอุปกรณ์ในระบบ เช่น อัตราการให้ออกซิเจนของเครื่องเติมอากาศ อัตราการสูบน้ำของเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
กรณีที่ผู้ประกอบการมีรายการคำนวณประกอบแบบ ผู้ตรวจสอบควรพิจารณาปริมาณและลักษณะน้ำเสียขาเข้าในปัจจุบันเปรียบเทียบกับข้อมูลการออกแบบว่าระบบสามารถรองรับน้ำเสียได้และ/หรือมีอุปกรณ์
ครบตามที่ออกแบบไว้หรือไม่

4. การตรวจสอบสถานภาพของระบบ
การตรวจสอบสถานภาพของระบบเป็นการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพต่างๆ ที่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงการทำงานของระบบว่าสมบูรณ์เพียงใดตัวอย่างการตรวจสอบทางกายภาพ ประกอบด้วย

5. การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไข
เมื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบผู้ตรวจสอบต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย ในการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และกำหนดวิธีการแก้ไข ในบางปัญหาอาจมีโอกาสเกิดจากหลายสาเหตุ ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาและวิธีการแก้ไข ดังตาราง

ข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข ปัญหาที่เกิดจากข้อบกพร่อง วิธีดำเนินการแก้ไข
1. เกิดตะกอนลอยที่หน้าในถังตกตะกอน ตะกอนลอยอาจหลุดไปกับน้ำทิ้ง ทำให้น้ำทิ้งไม่ผ่านตามมาตรฐานฯ 1. ทำการสูบตะกอนที่ทับถมและตะกอนที่ลอยหน้าในถังตกตะกอนทิ้ง
2. ตรวจสอบการทำงานของบ่อดักไขมัน ตักไขมันทิ้งอย่างสม่ำเสมอ
3. ตรวจสอบค่าปริมาณออกซิเจนละลายในถังเติมอากาศ หากมีปริมาณต่ำ ให้เพิ่มการเติมอากาศ
4. ปรับปรุงระบบสูบตะกอนย้อนกลับ
5. เพิ่มปรอมาณการทิ้งตะกอน
2. ท่อระบายตะกอนจากถังตกตะกอนอุดตัน เกิดจากการทับถมของตะกอนในถังตกตะกอน ทำให้เกิดก๊าซจากการหมักเป็นผลให้ตะกอนลอยชั้นที่ผิวหน้า แก้ไขการอุดตันของท่อระบายตะกอน หากยังไม่ดีขึ้นหรือตะกอนตันบ่อยให้ทำการย้ายเครื่องสูบตะกอนย้อนกลับมาไว้ในถังตะกอน

6. การวางแผนงานการปรับปรุงระบบ
เมื่อทราบวิธีการแก้ไข ผู้ตรวจสอบต้องวางแผนงานการปรับปรุงโดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย พร้อมกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงระบบในแต่ละขั้นตอน เพื่อใช้เป็นแผนงาน
เป้าหมายของการดำเนินงานปรับปรุงระบบตัวอย่างตารางแผนงานการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียหรือการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ตามตาราง

7. สรุปผลการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย
เมื่อดำเนินการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียแล้วเสร็จ ผู้ตรวจสอบต้องทำการติดตามผลการดำเนินงานและสรุปผลการปรับปรุงโดยการพิจารณาจากผลวิเคราะห์น้ำทิ้ง พร้อมสรุประยะเวลาการดำเนินการค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบ

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ