บทความ

การจัดการน้ำเสียประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
07/08/2023

การจัดการน้ำเสียประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
07/08/2023

การจัดการน้ำเสียประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

การจัดการน้ำเสียประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานีบริการน้ำ มันเชื้อเพลิงเป็นกิจกรรมหนึ่งในสถานประกอบการที่ถูกควบคุมเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสีย โดยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสถานที่ที่มีการใช้น้ำเพื่อกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การล้างทำความสะอาดพื้นที่อาจมีการปนเปื้อนน้ำมัน น้ำเสียจากการล้างภาชนะ จากห้องสุขา เป็นต้น ดังนั้น น้ำเสียที่เกิดจากการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์และของใช้ต่างๆ ก็อาจมีคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกปนเปื้อน และอาจแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงได้

จากการสุ่มตรวจสอบน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2556 จำนวน 38 ราย สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีผลน้ำทิ้งไม่ผ่านมาตรฐาน จำนวน 14 รายหรือร้อยละ 36.8 และมีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถเก็บน้ำได้เนื่องจากน้ำเสียเข้าสู่ระบบน้อยจำนวน 3 ราย และไม่มีการระบายน้ำออกภายนอก จำนวน 6 ราย โดยน้ำเสียที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องถูกบำบัดก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ ถังดักไขมัน ถังเกรอะถังกรองไร้อากาศ จากการรวบรวมข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษในการติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่าสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบางแห่งมีค่าน้ำทิ้งเกินค่ามาตรฐานแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พารามิเตอร์ส่วนใหญ่ที่เกินค่ามาตรฐานคือ ค่าซีโอดี (COD), ค่าสารแขวนลอย (SS) และ ค่าน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease)

1. แหล่งที่มาและลักษณะน้ำเสีย
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดให้แหล่งกำเนิดมลพิษจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก และ ข ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมเชื้อเพลิงต้องบำบัดน้ำเสียให้เป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนด โดยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก หมายถึง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ตั้งติดถนนใหญ่ กว้างมากกว่า 12 เมตร สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก หมายถึง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งติดถนนซอย กว้างไม่น้อยกว่า 8 แต่น้อยกว่า 12 เมตร

2. แนวทางในการลดปริมาณและความสกปรกในน้ำเสีย

3. การดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 80
อาคารประเภท ก และ ข ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษจะต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจัดเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2535 (ทั้งนี้ จะย่อเป็น “กฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 80”) ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษซึ่งมีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นของตนเองมีหน้าที่ ดังนี้

  1. เก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบหรืออุปกรณ์ และเครื่องมือดังกล่าวในแต่ละวัน และจัดทำบันทึก รายละเอียดเป็นหลักฐานไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้น โดยต้องจดบันทึกสถิติ
    และข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตาม แบบ ทส.1 ทุกวัน และเก็บไว้เป็นเวลา 2 ปี เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลเป็นสถิติในการตรวจสอบประสิทธิภาพระบบ และควรแก้ไขหรือปรับปรุงส่วนใด
  2. สรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตาม แบบ ทส.2 ทุกเดือน และจัดส่งให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วันของเดือนถัดไปเนื่องจากตามกฎกระทรวงได้อธิบายว่า ผู้เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ โดยหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ตามมาตรา 80 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้แก่
    • 1) เจ้าของหรือครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ หมายถึง เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษตามตรา 69 และมีระบบบำบัดน้ำเสียตามมาตรา 70 เป็นของตนเอง
      2) ผู้ควบคุมระบำบัดน้ำเสียหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหมายถึง ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างบริการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
      3) เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายถึง
      • นายกเทศมนตรี กรณีแหล่งกำเนิดมลพิษตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
      • นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีแหล่งกำเนิดมลพิษตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
      • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีแหล่งกำเนิดมลพิษตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
      • ปลัดเมืองพัทยา กรณีแหล่งกำเนิดมลพิษตั้งอยู่ในเขตเมืองพัทยา

4.หลักการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้น

ตาราง มาตรฐานควบคุมระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก และ ข

ดัชนีคุณภาพน้ำเสีย ความเข้มข้น หน่วย
พีเอช (pH) 5.5 – 9.0 -
ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) 200 mg/L
สารแขวนลอย (Suspended solid) 60 mg/L
น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) 15 mg/L

ที่มา : ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 123 ตอนพิเศษ 129 ง ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2549

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2552. คู่มือการจัดการน้ำเสียประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง.
แหล่งที่มา : https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-20_03-07-19_648658.pdf, 5 สิงหาคม 2566