บทความ

การวิเคราะห์สถานการณ์คุณภาพน้ำ โดยใช้เทคนิค DPSIR
08/08/2023

การวิเคราะห์สถานการณ์คุณภาพน้ำ โดยใช้เทคนิค DPSIR
08/08/2023

การวิเคราะห์สถานการณ์คุณภาพน้ำ โดยใช้เทคนิค DPSIR

การวิเคราะห์สถานการณ์คุณภาพน้ำ โดยใช้เทคนิค DPSIR
DPSIR: กรอบแนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ภาพรวมของผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งสาระสำคัญคือกิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน (Driver) สร้างภาวะกดดันแก่สิ่งแวดล้อม (Pressure) ส่งผลให้สถานภาพ (State) ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป สภาพของปัญหาที่เกินขึ้นข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจะถูกนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายหรือมาตรการตอบสนองการแก้ปัญหา (Response) เพื่อลดผลกระทบ (Impact) และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

แรงขับเคลื่อน (Driving Force : D)
แรงขับเคลื่อน ที่มักจะมีพลังมาก (นโยบายชาติ โลกาภิวัฒน์ ค่านิยม ความเชื่อของสังคม ฯลฯ) คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะมีผลกระทบกับแรงกดดัน (Pressure) ตัวขับเคลื่อนเป็นสิ่งที่สามารถวัดเป็นปริมาณ หรือตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจได้ ตัวอย่างเช่น การเติบโตของประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เป็นต้น

แรงกดดัน (Pressure : P)
สาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ (กิจกรรม) ใช้อธิบายกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่จะมีผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีสภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น การคมนาคมขนส่งการอุตสาหกรรม/เกษตรกรรม แบบแผนของการใช้พลังงาน อัตราการขยายตัวของรายได้ ความหนาแน่นของประชากร ตัวแปรต่างๆ เหล่านี้จะเป็นภาวะกดดันที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง และสิ่งแวดล้อมต้องเสื่อมโทรมลง เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

สภาวะ (State : S)
สถานการณ์ของสภาพแวดล้อมที่ต้องการ การแก้ไขหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือลักษณะทางกายภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งจากภาวะกดดันและการตอบสนอง เช่นคุณภาพน้ำ อากาศ พื้นที่ป่า การพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลกซึ่งบ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมเป็นต้น

ผลกระทบ (Impact : I)
ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเสื่อมของดินจะท าให้ผลผลิตทางการ เกษตรลดต่ำ ลง เป็นต้น

การตอบสนอง (Response :R)
การจัดการ แผนงาน โครงการ กิจกรรม องค์กร และกลไกการทำงาน (กฎหมาย งบประมาณ บุคลากร ประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม การตรวจสอบ ความโปร่งใส ฯลฯ)

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ