บทความ

ทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)
08/08/2023

ทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)
08/08/2023

ทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)

ทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)

PRTR คืออะไร
Pollutant Release and Transfer Registers (PRTR) หรือ ทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ หมายถึงฐานข้อมูลของชนิด และปริมาณของมลพิษที่มีการนําเข้า ผลิตขึ้น ใช้ไป รวมถึงปลดปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม (ทางอากาศ ดิน และน้ำ) และเคลื่อนย้ายออกจากสถานประกอบการ ทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์และของเสียเพื่อนําไปบําบัดหรือกําจัด โดยจะรายงานในรูปของปริมาณต่อระยะเวลา เช่น กิโลกรัม/ ปี ทางสถานประกอบการจะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลทุกปี และต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ เช่น ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต หรือทางสิ่งพิมพ์ เป็นต้น แต่การเผยแพร่จะได้รับการยกเว้นในส่วนข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า

ความต้องการให้มีการจัดทำ PRTR
เดิมชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม อาจไม่มีโอกาสได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ การผลิต หรือการปลดปล่อยสารเคมีอันตรายของโรงงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน แต่หลังจากการเกิดเหตุการณ์รั่วไหลของสารเคมีจากโรงงานยูเนี่ยน คาร์ไบด์ ที่ตั้งอยู่ในเมืองโบพาล ประเทศ อินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2527 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รวมถึงการเกิดสารเคมีรั่วไหลใน รัฐเวสท์เวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งของโรงงานเกิดความ ตระหนักถึงอันตราย และเรียกร้องให้โรงงานทำการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะได้รับทราบ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2529 ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงออกกฎหมาย Emergency Planning and Community Right-to-Know Act (EPCRA) เพื่อให้สถานประกอบการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการปลดปล่อยสารเคมีสู่สิ่งแวดล้อม (Toxic Release Inventory) ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของ PRTR ส่วนในการจัดทำ PRTR ในประเทศอื่นๆ เกิดขึ้นหลังจาก การประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก (Earth Summit) ณ นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ซึ่งได้มีการสนับสนุนเกี่ยวกับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลของประชาชนเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และสถิติการปลดปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม (Emission Inventories) และได้พัฒนามาเป็น PRTR ซึ่งปัจจุบัน ประเทศที่พัฒนา แล้วหลายแห่ง เช่น สหรัฐอเมริกา คานาดา กลุ่มประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เม็กซิโก แอฟริกาใต้ ฯลฯ ได้มีการนําระบบนี้มาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และ พบว่าช่วยให้ปริมาณการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมของโรงงานในแต่ละปีลดลงเป็นจำนวนมาก

สำหรับในประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษเคยมีโครงการให้มีการจัดทำระบบ PRTR สำหรับโรงงาน อุตสาหกรรมเมื่อปี 2543-2547 แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากติดขัดปัญหาหลายประการ ต่อมาในปี 2553 กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ Japan International Cooperation Agency (JICA) ได้ร่วมลงนามในการจัดทำโครงการ The Development of Basic Schemes for Pollutant Release and Transfer Register System: PRTR in the Kingdom of Thailand โดยจะใช้จังหวัดระยองเป็นพื้นที่นําร่องใน การศึกษา โดยมีระยะเวลาของโครงการ 4 ปี นอกจากนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายในการจัดให้มีการจัดทำPRTR ภายใต้แผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ว่าด้วยสารพิษที่ตกค้างยาวนาน ภายในปี พ.ศ. 2555 และแผนปฏิบัติการระดับโลกภายใต้ยุทธศาสตร์การดําเนินงานระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดการ สารเคมี (Strategic Approach to International Chemicals Management: SAICM) ภายใน ปี พ.ศ. 2554-2558

ประโยชน์ของการทำ PRTR
การที่สถานประกอบการมีการจัดทำ PRTR ก่อให้เกิดผลดีหลายประการ ได้แก่

  1. เพื่อเผยแพร่การข้อมูลจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการสู่สาธารณชน ตอบสนองต่อสิทธิในการรับรู้ ของประชาชนตามกฎหมายและข้อกําหนดต่างๆ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของชุมชน และ เป็นตัวกดดันทางสังคมเพื่อให้สถานประกอบการตระหนักถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบข้าง
  2. เพื่อสํารวจประสิทธิภาพในการดําเนินงานของสถานประกอบการ เป็นการควบคุมคุณภาพ ลดการสูญเสีย วัตถุดิบในกระบวนการผลิต เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่สะอาด
  3. เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่สถานประกอบการ ช่วยเสริมให้ชุมชนเกิดความไว้วางใจต่อสถานประกอบการ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
  4. เพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาการปลดปล่อยมลพิษจากโรงงาน
  5. เป็นข้อมูลให้กับภาครัฐในการคาดการณ์แนวโน้มการเคลื่อนย้ายและการจัดการมลพิษ เพื่อใช้ในการกำหนด นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
  6. ใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการที่ หน่วยงานของรัฐกำหนดให้ดำเนินการ
  7. ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เกิดเพลิงไหม้ สามารถใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และเป็นแนวทาง ในการป้องกันตัวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนรอบข้าง
  8. ใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในอนาคต
  9. เพื่อให้เป็นไปตามแผนการดําเนินงาน ตามนโยบาย ข้อตกลง หรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ

ชนิดของสารมลพิษที่ต้องจัดทำรายงาน
ชนิดของมลสารที่ต้องจัดทำรายงานในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยปัจจุบันจะยึดตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณ สารมลพิษที่ระบายออกนอกโรงงาน พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ส่วนวิธีการในการตรวจวัดปริมาณ จะยึดตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2550

เราสามารถคาดการณ์ปริมาณการปลดปล่อยมลพิษได้อย่างไร
วิธีที่นิยมใช้ในการคาดประมาณปริมาณการปลดปล่อยมลพิษอยู่ 4 วิธี ได้แก่ การตรวจวัด (Measurement) การ จัดทำมวลสมดุล (Mass Balance) การใช้สัมประสิทธิ์การปลดปล่อยมลพิษ (Emission Factor) และการใช้หลัก ทางวิศวกรรม (Engineering Calculation/Engineering Judgement)

  1. การตรวจวัด (Measurement) โดยทำการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของมลพิษในของเสียที่ปล่อยออกไป แล้วคูณด้วยปริมาณของของเสียนั้น เช่น ตรวจวัดค่า BOD ในน้ำเสีย แล้วคูณด้วยปริมาณของน้ำเสียที่ปล่อยออกไปในระยะเวลา 1 ปี จะได้เป็น ปริมาณรวมทั้งหมดของ BOD ที่ปลดปล่อยออกไปต่อปี
  2. การจัดทำมวลสมดุล (Mass Balance) เป็นการตรวจสอบค่าความเข้มข้นของมลพิษในระบบด้วยหลักการคงตัวของมวลสาร กล่าวคือ ปริมาณสารเคมีที่ นําเข้าสู่ระบบ รวมกับปริมาณสารเคมีที่เกิดขึ้นในระบบ จะเท่ากับ ปริมาณสารเคมีที่ใช้ไปในกระบวนการผลิต รวม กับปริมาณสารที่สะสมอยู่ในระบบ และปริมาณสารเคมีที่ถูกปล่อยออกจากระบบ ดังสมการ

    มวลสารที่เข้าสู่ระบบ + มวลสารที่เกิดในระบบ = มวลสารที่ใช้ไปในระบบ + มวลสารที่สะสมในระบบ + มวลสารที่ถูกปล่อยออกจากระบบ

  3. การใช้สัมประสิทธิ์การปลดปล่อยมลพิษ (Emission Factor) สัมประสิทธิ์การปลดปล่อยมลพิษ คือ ค่าเฉลี่ยตัวเลขการปลดปล่อยมลพิษของกิจกรรม หรือเครื่องจักร/อุปกรณ์ที่ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มักเป็นค่าที่กำหนดโดยหน่วยงานหรือบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นๆ วิธีการนี้มักใช้กับ สถานการณ์ที่ใช้การตรวจวัดโดยตรงทำได้ยาก เช่น มีจุดตรวจวัดจำนวนมาก การรั่วไหลมีปริมาณน้อย หรือมีการรั่วไหลแบบฟุ้งกระจาย (Fugitive Emission) เช่น การรั่วไหลจากข้อต่อ และปั๊ม เป็นต้น วิธีนี้มักนิยมใช้กับการ คาดประมาณการปลดปล่อยมลพิษสู่อากาศ แต่วิธีนี้มีข้อจํากัด คือการประยุกต์ใช้กับกิจกรรม หรือเครื่องจักร/ อุปกรณ์ใดๆ จะต้องมีสภาพแวดล้อม (สารเคมีที่ใช้ การติดตั้งอุปกรณ์ การบำรุงรักษา อุณหภูมิ ฯลฯ) คล้ายคลึง กับสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการหาค่า Emission Factor ซึ่งการคาดการปริมาณการปลดปล่อยมลพิษ คํานวณจาก

    ปริมาณการ ปลดปล่อย = Emission Factor x อัตราการดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือ ข้อมูลปริมาณงานที่ทำในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

    ข้อดีของวิธีนี้ คือ ทำการคาดประมาณได้อย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียคืออาจเกิดการผิดพลาดได้ง่าย หากค่า Emission Factor ที่ใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม

  4. การใช้หลักเกณฑ์ทางวิศวกรรม (Engineering Calculation/Engineering Judgement) มักใช้กับการคาดประมาณการปลดปล่อยมลพิษของสารเคมีที่อยู่ในถังเก็บ (เช่น จากคลังน้ำมัน หรือคลังก๊าซ ธรรมชาติ เป็นต้น) และการปลดปล่อยสารเคมีจากอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ วิธีนี้จะใช้การคํานวณจากคุณสมบัติทาง ฟิสิกส์/เคมี และทฤษฎีเกี่ยวกับคุณสมบัติของก๊าซต่างๆ เช่น Ideal Gas Law ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับสถานการณ์ที่การ ตรวจวัดกระทำได้ลําบาก

ที่มา : สำนักสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) .//(2560). //ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “ทําเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR) .//สืบค้นเมื่อ 24 พฤษจิกายน 2566, /จาก/https://reo13.mnre.go.th/th/information/more/1427/page/10