เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน
17/08/2023
เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน
17/08/2023

เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน
ตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน หมายถึง ชั้นอนุภาคที่สะสมอยู่บนพื้นแหล่งน้ำผิวดิน ประกอบด้วย อินทรียวัตถุ หรืออนินทรีย์วัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ซึ่งผ่านกระบวนการสลาย ที่แขวนลอยและถูกพัดพาปะปนกับกระแสน้ำ หรือตกลงจากชั้นบรรยากาศสู่แหล่งน้ำผิวดิน และจมลงทับถมกันบริเวณพื้นด้านล่างของแหล่งน้ำผิวดิน โดยแหล่งน้ำผิวดินนั้นหมายรวมถึง แม่น้ำ บึง หนอง คลอง อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติอื่นๆ “สัตว์หน้าดิน” หมายถึง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในหรืออยู่บนตะกอนดินหรือพื้นท้องน้ำ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสัตว์จําพวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ตัวอ่อนแมลงปอ และตัวอ่อนแมลงชีปะขาว เป็นต้น จัดเป็นผู้บริโภคระดับแรกของห่วงโซ่อาหารและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ
“เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน” หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารอันตรายในตะกอนดินที่สัตว์หน้าดินสามารถอาศัยได้ โดยไม่เกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินอย่างมีนัยสําคัญ “เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินดินเพื่อคุ้มครองมนุษย์ผ่านห่วงโซ่อาหาร” หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารอันตรายในตะกอนดินที่มนุษย์สามารถรับประทานสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำ ดังกล่าว โดยไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ในระยะยาว
กำหนดเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน (น้ำหนักแห้ง) ไว้ดังต่อไปนี้
- สารหนู (Arsenic) ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- แคดเมียม (Cadmium) ต้องไม่เกิน 0.16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- โครเมียม (Chromium) ต้องไม่เกิน 45.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ทองแดง (Copper) ต้องไม่เกิน 21.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ตะกั่ว (Lead) ต้องไม่เกิน 36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ปรอท (Total Mercury) ต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- นิกเกิล (Nickel) ต้องไม่เกิน 27.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- สังกะสี (Zinc) ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- พีเอเอชเอสทั้งหมด (Total PAHs) ต้องไม่เกิน 1,600 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- พีซีบีทั้งหมด (Total PCBs) ต้องไม่เกิน 60 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- คลอร์เดน (Chlordane) ต้องไม่เกิน 3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- ดีลดริน (Dieldrin) ต้องไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- ดีดีทีทั้งหมด (Total DDTs) ต้องไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- เอ็นดริน (Endrin) ต้องไม่เกิน 2 ไมโครกรัมตอกิโลกรัม
- เฮปตาคลอร์อิพอกไซด์ (Heptachlor Epoxide) ต้องไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- ลินเดน (Lindane or gamma-BHC) ต้องไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- ท็อกซาฟิน (Toxaphene) ต้องไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- อะซินฟอส เอธิล (Azinphos-ethyl) ต้องไม่เกิน 0.02 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- อะซินฟอส เมธิล (Azinphos-methyl) ต้องไม่เกิน 0.06 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- มาลาไธออน (Malathion) ต้องไม่เกิน 0.65 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
- อะทราซีน (Atrazine) ต้องไม่เกิน 0.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
กรอบการประเมินคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน (Framework)
เพื่อการตัดสินใจดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพตะกอนดิน มีดังนี้
- เปรียบเทียบความเข้มข้นสารอันตรายในตะกอนดินที่ตรวจพบกับเกณฑ์คุณภาพตะกอนดิน ในแหล่งน้ำผิวดิน หากพบว่าต่ำกว่าเกณ์ หมายถึง สารอันตรายมีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสัตว์หน้าดินน้อย มาก ไม่ต้องดำเนินการใดๆ แต่หากพบว่าสูงกว่าเกณฑ์ฯ ให้ดำเนินการในข้อถัดไป
- เปรียบเทียบความเข้มข้นสารอันตรายในตะกอนดินที่ตรวจพบกับค่าความเข้มข้นสารอันตราย ในตะกอนดินที่พบในธรรมชาติ หากพบต่ำกว่าค่าที่พบในธรรมชาติอาจถือว่าไม่มีนัยสําคัญและไม่ต้อง ดำเนินการใด ๆ ทั้งนี้ หากพบว่าสูงกว่าค่าที่พบในธรรมชาติ ให้ดำเนินการในข้อถัดไป 3.3 เปรียบเทียบความเข้มข้นสารอันตรายในตะกอนดินที่ตรวจพบกับระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อ สัตว์หน้าดิน โดยระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อสัตว์หน้าดิน มีดังนี้
- สารหนู (As) มากกว่าหรือเท่ากับ 33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- แคดเมียม (Cd) มากกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- โครเมียม (Cr) มากกว่าหรือเท่ากับ 110 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ทองแดง (Cu) มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ตะกั่ว (Pb) มากกว่าหรือเท่ากับ 130 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ปรอท (Total Hg) มากกว่าหรือเท่ากับ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- นิกเกิล (Ni) มากกว่าหรือเท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- สังกะสี (Zn) มากกว่าหรือเท่ากับ 460 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- พีเอเอชเอสทั้งหมด (Total PAHs) มากกว่าหรือเท่ากับ 23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- พีซีบีทั้งหมด (Total PCBs) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- คลอร์เดน (Chlordane) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ดีลดริน (Dieldrin) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.06 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ดีดีทีทั้งหมด (Total DDTs) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- เอ็นดริน (Endrin) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- เฮปตาคลอร์ อิพอกไซด์ (Heptachlor Epoxide) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ลินเดน (Lindane) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ท็อกซาฟิน (Toxaphine) มากกว่าหรือเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หากพบว่าความเข้มข้นสารอันตรายในตะกอนดินที่ตรวจพบไม่เกินระดับที่ไม่ปลอดภัย ต่อสัตว์หน้าดิน ให้พิจารณาดำเนินการเฝ้าระวัง
หากพบว่าความเข้มข้นสารอันตรายในตะกอนดินที่ตรวจพบสูงกว่าระดับที่ไม่ปลอดภัย ต่อสัตว์หน้าดิน ให้พิจารณาดำเนินการควบคุมการปลดปล่อยสารอันตรายจากแหล่งกำเนิด และ/หรือดำเนินการลดการปนเปื้อนสารอันตรายในตะกอนดินด้วยการขุดลอก หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม
ผู้ประเมินควรศึกษาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อศักยภาพในการก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดิน
เพิ่มเติมด้วย เพื่อประกอบการประเมินคุณภาพตะกอนดิน ดังนี้
- ขนาดอนุภาคตะกอนดิน ให้แบ่งจําแนกขนาดอนุภาคตะกอนดินออกเป็น ทรายหยาบ (0.2 – 2 มิลลิเมตร) ทรายละเอียด (0.02 – 0.2 มิลลิเมตร) ทรายแปลง (0.002 – 0.02 มิลลิเมตร) และดินเหนียว (น้อยกว่า 0.002 มิลลิเมตร) โดยดินเหนียว และทรายแป้ง จะสามารถยึดติดกับสารอันตรายได้ดี ตามลำดับ
- ปริมาณซัลไฟด์ (Acid Volatile Sulfide) ให้เปรียบเทียบปริมาณมวลโลหะหนักทุกชนิด ที่สกัดอย่างต่อเนื่อง (ΣSimultaneously Extracted Metals: ΣSEMs) กับปริมาณมวลซัลไฟด์ (Acid Volatile Sulfide: AVS) ดังสมการ
- SEM ของโลหะหนักแต่ละชนิด = [ความเข้มข้นโลหะหนักในตะกอนดิน (μg/kg)] (μmol/kg) [มวลโมเลกุลต่อโมล (μmol/kg)]
- ΣSEM = SEM CD + SEM CU + SEM PB + SEMNI + SEM ZN + ½ SEMAG โดย หาก ΣSEM > AVS หมายถึง โลหะหนักมีโอกาสเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดิน แต่ถ้าหาก ΣSEM < AVS หมายถึง โลหะหนักไม่มีโอกาสเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดิน
- ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน (Total Organic Carbon: TOC) ให้ปรับฐานความเข้มข้น สารอินทรีย์ในตะกอนดินและเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินตามปริมาณอินทรีย์คาร์บอน เมื่อพบว่าตะกอนดินมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในระดับร้อยละ 0.2 – 10 และเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นสารอินทรีย์ในตะกอนดินที่ปรับฐานกับเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินที่ปรับฐาน หากพบว่าความเข้มข้นสูงกว่าเกณฑ์ฯ แสดงว่าสารอินทรีย์ดังกล่าวมีโอกาสเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดิน และหากพบว่าความเข้มข้นต่ำกวาเกณฑ์ฯ แสดงว่าสารอินทรีย์ดังกล่าวไม่มีโอกาสเป็นพิษต่อสัตว์หน้าดิน ทั้งนี้ การปรับฐานความเข้มข้นตามปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ทำได้ด้วยการนําค่าความเข้มข้น สารอันตรายในตะกอนดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) มาหารด้วยสัดส่วนของปริมาณอินทรีย์คาร์บอน (เช่น 1% TOC มีสัดส่วนปริมาณอินทรีย์คาร์บอน เท่ากับ 0.01)
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2563. เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน. แหล่งที่มา : https://www.pcd.go.th/laws/5152, 5 สิงหาคม 2566