บทความ

เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน
17/08/2023

เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน
17/08/2023

เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน

เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน
ตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน หมายถึง ชั้นอนุภาคที่สะสมอยู่บนพื้นแหล่งน้ำผิวดิน ประกอบด้วย อินทรียวัตถุ หรืออนินทรีย์วัตถุที่มีขนาดเล็ก เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ซึ่งผ่านกระบวนการสลาย ที่แขวนลอยและถูกพัดพาปะปนกับกระแสน้ำ หรือตกลงจากชั้นบรรยากาศสู่แหล่งน้ำผิวดิน และจมลงทับถมกันบริเวณพื้นด้านล่างของแหล่งน้ำผิวดิน โดยแหล่งน้ำผิวดินนั้นหมายรวมถึง แม่น้ำ บึง หนอง คลอง อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติอื่นๆ “สัตว์หน้าดิน” หมายถึง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในหรืออยู่บนตะกอนดินหรือพื้นท้องน้ำ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสัตว์จําพวกที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ตัวอ่อนแมลงปอ และตัวอ่อนแมลงชีปะขาว เป็นต้น จัดเป็นผู้บริโภคระดับแรกของห่วงโซ่อาหารและเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ

“เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน” หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารอันตรายในตะกอนดินที่สัตว์หน้าดินสามารถอาศัยได้ โดยไม่เกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินอย่างมีนัยสําคัญ “เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินดินเพื่อคุ้มครองมนุษย์ผ่านห่วงโซ่อาหาร” หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารอันตรายในตะกอนดินที่มนุษย์สามารถรับประทานสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำ ดังกล่าว โดยไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ในระยะยาว

กำหนดเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน (น้ำหนักแห้ง) ไว้ดังต่อไปนี้

  1. สารหนู (Arsenic) ต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  2. แคดเมียม (Cadmium) ต้องไม่เกิน 0.16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  3. โครเมียม (Chromium) ต้องไม่เกิน 45.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  4. ทองแดง (Copper) ต้องไม่เกิน 21.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  5. ตะกั่ว (Lead) ต้องไม่เกิน 36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  6. ปรอท (Total Mercury) ต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  7. นิกเกิล (Nickel) ต้องไม่เกิน 27.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  8. สังกะสี (Zinc) ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  9. พีเอเอชเอสทั้งหมด (Total PAHs) ต้องไม่เกิน 1,600 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  10. พีซีบีทั้งหมด (Total PCBs) ต้องไม่เกิน 60 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  11. คลอร์เดน (Chlordane) ต้องไม่เกิน 3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  12. ดีลดริน (Dieldrin) ต้องไม่เกิน 2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  13. ดีดีทีทั้งหมด (Total DDTs) ต้องไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  14. เอ็นดริน (Endrin) ต้องไม่เกิน 2 ไมโครกรัมตอกิโลกรัม
  15. เฮปตาคลอร์อิพอกไซด์ (Heptachlor Epoxide) ต้องไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  16. ลินเดน (Lindane or gamma-BHC) ต้องไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  17. ท็อกซาฟิน (Toxaphene) ต้องไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  18. อะซินฟอส เอธิล (Azinphos-ethyl) ต้องไม่เกิน 0.02 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  19. อะซินฟอส เมธิล (Azinphos-methyl) ต้องไม่เกิน 0.06 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  20. มาลาไธออน (Malathion) ต้องไม่เกิน 0.65 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
  21. อะทราซีน (Atrazine) ต้องไม่เกิน 0.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม

กรอบการประเมินคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินเพื่อคุ้มครองสัตว์หน้าดิน (Framework)
เพื่อการตัดสินใจดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพตะกอนดิน มีดังนี้

ผู้ประเมินควรศึกษาปัจจัยที่อาจส่งผลต่อศักยภาพในการก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดิน
เพิ่มเติมด้วย เพื่อประกอบการประเมินคุณภาพตะกอนดิน ดังนี้

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2563. เกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดิน. แหล่งที่มา : https://www.pcd.go.th/laws/5152, 5 สิงหาคม 2566