บทความ

ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น
17/08/2023

ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น
17/08/2023

ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น

การจัดการสารพิษสารอันตรายในภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการในกรรีต่างๆ เช่น ในกระบวนการผลิต ในกรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีที่มีการจงใจลักลอบทิ้งในพื้นที่ที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ เป็นต้น อาจเป็นสาเหตุให้มีการปนเปื้อนของสารอันตรายหลายชนิดในดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลหระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและต่อสุขภาพของประชาชน ในเบื้องต้น การสำรวจและตรวจสอบการปนเปื้อนดินอละน้ำใต้ดินจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับนำมาประเมินสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง

ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วที่ตกค้างบนพื้นดิน มักจะไม่รวมตัวกับสารประกอบในดินแต่จะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของดิน ทำให้ดินจับตัวเป็นก้อนและไม่มีช่องว่างของอากาศส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดิน เช่น ไส้เดือน และแมลงขนาดเล็กให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อีกทั้งในกรณีที่พืชบริเวณพื้นที่ปนเปื้อนดูดซึมสารพิษจากน้ำมันหล่อลื่นอาจทำให้เกิดการสะสมสารพิษ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ในกรณีที่บริโภคพืชนั้นๆเข้าสู่ร่างกาย น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วบางส่วนจะระเหยสู่อากาศและส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์ถ้าสูดดมเข้าไป ทั้งนี้ในกรณีเมื่อฝนตกน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วที่ตกค้างบนผิวดินบางส่วนจะถูกชะล้างโดยน้ำฝนและก่อให้เกิดการแพร่กระจายลงแหล่งน้ำผิวดินและซึมผ่านชั้นดินไปปนเปื้อนแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งในบางพื้นที่มนุษย์อาศัยน้ำใต้ดินทั้งอุปโภคและบริโภคนับว่าเป็นอันตรายอย่างมาก

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วในแหล่งน้ำใต้ดินมีระยะเวลาในการตกค้างเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำใต้ดินมีการเคลื่อนตัวช้าทำให้ไม่มีการหมุนเวียนและระบายสารปนเปื้อน อีกทั้งการบำบัดด้วยสารเคมีหรือใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดสารพิษจากการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วทำได้ยาก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากน้ำมันเครื่องใช้แล้ว เกิดจากการที่เครื่องใช้แล้วย่อยสลายยากในสิ่งแวดล้อมและอาจมีองค์ประกอบของสารพิษหรือโลหะหนักอยู่ หากมีหากมีการหกรั่วไหลบนดิน เททิ้งไปกับรางระบายน้ำฝนหรือกำจัดไปกับขยะก่อให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่น้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน 1 แกลลอนของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว สามารถทำให้น้ำสะอาดปนปื้อน 1 ล้านแกลลอน หรือเทียบเท่ากับน้ำที่ให้ประชาชนบริโภค 50 คนต่อปี

ทั้งนี้ในการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วนอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินตลอดจนระบบนิเวศน์แล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย เนื่องจากในน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมีสารมลพิษที่มีความเป็นอันตรายสะสมอยู่ เช่น สารพีเอเอช (PAHs) สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และโลหะหนัก (Heavy Metal) แสดงรายละเอียดดังนี้

1. สารพีเอเอช (PAHs)
โพลีไซคลิกอะโรมาติกส์ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon; PAHS) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยวงเบนซิน (Benzene Ring) ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไป โดยเกิดขึ้นเองจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว และมีความเป็นพิษเรื้อรัง ทั้งนี้การได้รับสารพีเอเอซแบบต่อเนื่องยาวนานอาจก่อให้เกิดความเป็นอันตรายต่อระบบต่างๆของร่างกายได้ เนื่องจากสารพีเอเอชบางชนิดจัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ตามระบบ Integrated Risk Information System (IRIS) เช่น Benzo[a]pyrene,Dibenz(a,h)anthracene, Indeno[1,2,3-cd]pyrene และ Napthalene เป็นต้น

2. สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)
สารอินทรีย์ระเหยง่ายที่สำคัญและพบได้บ่อยได้แก่ BTEX, ICE และ PCE ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการกิน การหายใจ และการสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ดังนี้

3. โลหะหนัก (Heavy Metal)
น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วจะมีโลหะหนักเหลือตกค้างอยู่ภายใต้การใช้งานที่มีจากแหล่งต่างกัน เช่น เกิดจากการสึกกร่อนของเครื่องยนต์ (Engine wear) การสึกกร่อนของเครื่องจักร (Bearing Wear) และจากการใช้สารปรุงแต่ง เป็นต้น ทั้งนี้โลหะที่มักพบในน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วประกอบด้วยดังนี้

หลักการสำรวจและตรวจสอบการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินเบื้องต้น
โดยทั่วไป น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล (Groundwater) หมายถึงน้ำที่อยู่ช่องว่างของชั้นดินหรือหิน ในกรรีที่ชั้นดินหรือหินอิ่มตัวด้วยน้ำจะเรียกว่าชั้นดินหรือหินอุ้มน้ำ (Aquifer) ซึ่งจะแบ่งได้เป็นหลักๆ 2 ลักษณะคือ

  1. ชั้นดินหรือชั้นหินอุ้มน้ำที่ไม่มีแรงดัน (Unconfined Aquifer) ซึ่งจะพบเป้นชั้นแรกจากระดับผิวดินลงไป ระดับความลึกของชั้นน้ำและทิศทางการไหลอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามพื้นที่และฤดูกาล และมักจะเป็นชั้นน้ำใต้ดินที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษที่มีแหล่งกำเนิดจากอุตสาหกรรม
  2. ชั้นดินหรือหินอุ้มน้ำที่มีแรงดัน (Confined Aquifer) เป็นชั้นน้ำใต้ระดับชั้นต้านน้ำ มักเป้นชั้นที่ถูกสูบขึ้นมาเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งในทางอุตสาหกรรม ชั้นดินหรือชั้นหินอุ้มน้ำที่มีแรงดันอาจจะมีมากกว่าหนึ่งชั้นได้ขึ้นกับลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่

หลักการสำคัญทั่วไปที่ยึดถือในการเก้บตัวอย่าง คือ ต้องเก็บตัวอย่างที่เป้นตัวแทนของสภาพจริง (Representative Samples) ให้มากที่สุด ซึ่งการเก็บตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของสภาพจริงจะต้องคำนึงประเด็นหลัก 2 ประเด็นได้แก่ ลักษณะขององค์ประกอบที่มีในดินและน้ำใต้ดิน และเทคนิคหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงตำแหน่งที่ต้องการเก็บตัวอย่าง (Access) และเทคนิคหรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บตัวอย่าง (Sampling)

ในกรณีที่ต้องส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ จะต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ให้ทราบถึงลักษณะเบื้องต้นของตัวอย่างและปัจจัยประกอบอื่นๆ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประจำห้องปฏิบัติการกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมภาชนะบรรจุตัวอย่างและรักษาสภาพตัวอย่างให้ผู้ปฎิบัติงานในภาคสนามปฏิบัติตาม

ในกรณีที่มีการลักลอบทิ้งเกิดมานาน สารปนเปื้อนอาจจะมรการปนเปื้อนลึกลงไปถึงน้ำใต้ดินและแพร่กระจายไปกับน้ำใต้ดินได้ การกำหนดพารามิเตอร์ในเบื้องต้นอาจจะต้องอ้างอิงกับมาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดิน เมื่อมีข้อมูลมากขึ้นอาจจะปรับจำนวนพารามิเตอร์ตามความเหมาะสมต่อไป สำหรับการเก้บตัวอย่างดินตามความลึกโดยรอบพื้นที่หรืออย่างน้อยในทิศทางที่สามารถเฝ้าระวังการปนเปื้อนสู่ผู้ใช้น้ำที่อาจจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบการปนเปื้อนและปฎิบัติตามขั้นตอนกรรีเกิดอุบัติเหตุและสถานการณ์ฉุกเฉินหรือกรณีการลักลอบทิ้ง จนกระทั้งแล้วเสร็จ ควรมีการดำเนินการชี้แจ้งเป้นระยะๆ ตามความเหมาะสมต่อสาธารณชน ในส่วนของวิธีการดำเนินการแก้ไขมาตรการในการกำกับดุแล โดยผ่านประชาสัมพันธ์ในหลายๆ รูปแบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น ผ่านสิ่ออินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุชุมชน และชี้แจงต่อผู้นำชุมชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่สามารถตรวจสอบสถานการณ์ร่วมกันในพื้นที่จริง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่และสถานการณ์

ที่มา :

เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, 2560. ปัญหาและผลกระทบต่อดินและน้ำใต้ดินจากน้ำมันหล่อลื่น. 5 สิงหาคม 2566