แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
17/08/2023
แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
17/08/2023

แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
ปัญหาน้ำท่วมแหล่งกำเนิดมลพิษทำให้สารมลพิษกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม ปัญหาการระบายมลพิษออกจากแหล่งกำเนิดในช่วงน้ำท่วม ปัญหาน้ำท่วมขังเน่าเสียในพื้นที่ชุมชนหรือเกษตรกรรม ปัญหาการระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำ ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในช่วงอุทกภัยและที่ตกค้างหลังจากเกิดเหตุอุทกภัย ปัญหาระบบบำบัดมลพิษได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและไม่สามารถใช้การได้ เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งปัญหาด้านมลพิษดังที่กล่าวมาแล้วจะต้องได้รับการจัดการโดยเร็วเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหามลพิษในสถานการณ์อุทกภัย
1. ปัญหามลพิษในช่วงสถานการณ์อุทกภัย เมื่อเกิดสถานการณ์อุกภัย แหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆจะมีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดปัญหามลพิษตามประเภทของแหล่งกำเนิด ดังนี้
- แหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ชุมชน เช่น บ้านเรือน ตลาดสด สถานพยาบาล ห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี ชีววิทยา ห้องปฎิบัตการทางการแพทย์ และสถานประกอบกิจการต่างๆ ได้แก่ สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง อู่ซ่อมรถยนต์ ร้านจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตร โรงเผาถ่าน โรงเผาอิฐ ระบบบำบัดน้ำเสียรวม และสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ปัญหาการระบายมลพิษออกจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ชุมชน ได้แก่ สารอินทรีย์ในน้ำเสียที่มาจากการอุปโภค บริโภค และการทำกิจกรรมภายในอาคารครัวเรือน เช่น การอาบน้ำ การขับถ่าย รวมทั้งจากโรงสีข้าว โรงเผาถ่าน โรงเผาอิฐ ระบบำบัดน้ำเสียรวมและสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เชื้อโรคและขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล การระบายน้ำมันจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและอู่ซ่อมรถยนต์ ขยะมูลฝอยจะมีที่มาจากบ้านเรือน ร้านรับซื้อของเก่า และสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สารกำจัดศัตรูพืชจากร้านสารเคมีทางการเกษตร
- แหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงชุบโลหะ โรงฟอกย้อมนิคมอุตสาหกรรม คลังน้ำมัน โกดังเก็บสารเคมี โรงกำจัดกากของเสีย โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอุตสาหกรรม ปัญหาการระบายมลพิษออกจากแหล่งดำเนิดประเภทอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาสารเคมีต่างๆ เช่น กรด ด่าง สารกัดกร่อน โลหะหนัก (ปรอท ตะกั่ว) ไซยาไนท์ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds; VOCs) และเชื้อโรค
- แหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่เกษตรกรรม เช่นฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่และสัตว์ปีก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โกดังเก็บผลผลิต/ผลผลิตการเกษตรแปรรูป/วัสดุการเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง แป้ง น้ำตาล เป็นต้น ปัญหาการระบายมลพิษอกกจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทเกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านสารอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากการระบายของเสียและการเน่าเสียของซากเสียของซากสัตว์
2. ผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม หากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมปยกตามประเภทของสารมลพิษ ได้แก่
- สารอินทรีย์ หรือสารประกอยอินทรีย์ หมายถึง สารที่มีธาตุคาร์บอน เป็นองค์ประกอบทั้งเกิดจากการสิ่งมีชีวิตและเกิดจากสังเคราะห์ เช่นสิ่งขับถ่ายและสิ่งปฎิกูลจากมนุษย์และสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ตาย เศษอาหาร เศษผักผลไม้ เศษใบไม้ เศษแกลบ เป็นต้น สารอินทรีย์ส่วนใหญ่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์อาศัยตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ส่วนอินทรีย์ส่วนใหญ่พบว่าที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม ผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนจะออกซิเจนละลายในน้ำในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และเมื่อออกซิเจนละลายในน้ำมีปริมาณน้อยลง จุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เหลือต่อเกิดเป็นสารต่างๆ เช่น ก๊าซไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น และก๊าซมีเทน
- น้ำมัน ได้แก่น้ำมันหรือไขมันประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันรถยนต์ น้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันทอดอาหาร และน้ำมันที่ผ่านการใช้งานแล้ว เป็นต้น ผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำมันจะลอยเป็นฟิล์มบนผิวน้ำขัดขวางการแลกเปลี่ยนถ่ายเทออกซิเจนระหว่างน้ำและอากาศ ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ และเป็นพิษต่อสัตว์น้ำและพืชที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ
- วัตถุอันตราย ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในกิจกรรมและกระบวนการต่างๆ เช่น กรด ด่าง สารกัดกร่อน สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ไซยาไนต์ และสารประกอบอินทรีย์ระเกยง่าย กัมมันตภาพรังสี เป็นต้น ผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม วัตถุอันตรายจะมีผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์ทั้งที่เป็นพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังผู้ที่สัมผัส และเป็นสารอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
- เชื้อโรค หมายถึง จุลินทรีย์ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคติดเชื้อได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย รา โปรโตซัว และหนอนพยาธิ ที่มาของเชื้อโรค ได้แก่ มาจากขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล สิ่งขับถ่ายหรือสิงปฎิกูลจากมนุษย์และสัตว์ ซากสัตว์ ผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการแพร่กระจายโรคต่างๆ สู่มนุษย์และสัตว์ได้ เช่น โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบผิวหนัง เป็นต้น หลังจากสถานการณ์อุทกภัยเกิดขึ้น การจัดการมลพิษเป็นเรื่องที่สำคัญในการฟื้นฟูและตั้งคืบควบคู่กับการซ่อมแซมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย นี่คือแนวทางการจัดการมลพิษภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
- สำรวจและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม การทำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายหลังจากอุทกภัยเป็นอย่างสำคัญ สำรวจและวิเคราะห์ว่ามีการปล่อยสารพิษหรือมลพิษจากการนำไปใช้ในเกษตรกรรม การผลิตอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ และตรวจสอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมในระยะยาว
- จัดการกับของเสียและของกำจัด ทำความสะอาดและจัดการกับของเสียที่เกิดขึ้นหลังจากอุทกภัยให้เป็นระเบียบ เช่น ควบคุมการซากซ่อนของเสียในที่ไม่เหมาะสม หากมีมลพิษในของเสีย จำเป็นต้องดำเนินการกำจัดตามมาตรฐานและข้อกำหนด
- ตรวจสอบความปลอดภัย สำรวจและตรวจสอบความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของสารพิษ อาทิเช่น สารเคมี น้ำมัน และของเสียอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ความปลอดภัยในการจัดการ
- ส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสนับสนุนและใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษ อาทิ การใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสารเคมีอันตราย เครื่องมือในการวัดค่ามลพิษ เป็นต้น
- การศึกษาและส่งเสริมความตระหนัก ส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับความเสี่ยงจากมลพิษ และการวางแผนการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมหลังจากอุทกภัย การศึกษาและส่งเสริมความตระหนักจำเป็นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการมลพิษในพื้นที่ของพวกเขา
- ติดตามและประเมินผล การติดตามสภาพแวดล้อมหลังจากอุทกภัยและตรวจสอบผลกระทบจากมลพิษในระยะยาว โดยให้ความสำคัญในการประเมินผลการจัดการและดำเนินการปรับปรุงในกรณีที่มีการพบปัญหา
การจัดการมลพิษเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างองค์กรและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสภาพแวดล้อมและสังคมมีความปลอดภัยและมั่นคงหลังจากเกิดอุทกภัย
แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
- งานจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
- สำรวจและประเมินความเสียหายของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร และจัดทำรายละเอียดการปรับปรุงซ่อมแซม
- ปรับปรุงซ่อมแซมระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียรวม
- นำสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในระหว่างเกิดอุทกภัยไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบบำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนที่ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และสิ่งแวดล้อม
- ติดตามตรวจสอบระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียรวมภายหลังการฟื้นฟู
- งานจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเมือง
- จัดหาภาชนะรองรับขยะมูลฝอยทดแทนของเดิมที่ชำรุดหรือเสียหาย
- ดำเนินการเก็บรวบรวมและขนย้ายขยะมูลฝอยที่ตกค้างในพื้นที่ชุมชนเมืองและในแหล่งน้ำต่างๆ ไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหรือสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อป้องกันปัญหา ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
- งานฟื้นฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
- สำรวจและประเมินความเสียหายของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร และจัดทำรายละเอียดการปรับปรุงซ่อมแซม
- ปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
- ติดตามตรวจสอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยภายหลังการฟื้นฟู
- การติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษหรือกิจกรรมอื่นที่ถูกน้ำท่วม
- ตรวจประเมินแหล่งกำเนิดมลพิษหรือสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
- ให้คำแนะนำเพื่อให้แหล่งกำเนิดมลพิษหรือสถานประกอบการมีการปรับปรุงซ่อมแซม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมดำเนินการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียที่ยังตกค้างอยู่
ที่มา :
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, 2560. แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย, 5 สิงหาคม 2566