บทความ

แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
17/08/2023

แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
17/08/2023

แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย

แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย
ปัญหาน้ำท่วมแหล่งกำเนิดมลพิษทำให้สารมลพิษกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม ปัญหาการระบายมลพิษออกจากแหล่งกำเนิดในช่วงน้ำท่วม ปัญหาน้ำท่วมขังเน่าเสียในพื้นที่ชุมชนหรือเกษตรกรรม ปัญหาการระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำ ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในช่วงอุทกภัยและที่ตกค้างหลังจากเกิดเหตุอุทกภัย ปัญหาระบบบำบัดมลพิษได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและไม่สามารถใช้การได้ เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งปัญหาด้านมลพิษดังที่กล่าวมาแล้วจะต้องได้รับการจัดการโดยเร็วเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปัญหามลพิษในสถานการณ์อุทกภัย

1. ปัญหามลพิษในช่วงสถานการณ์อุทกภัย เมื่อเกิดสถานการณ์อุกภัย แหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆจะมีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดปัญหามลพิษตามประเภทของแหล่งกำเนิด ดังนี้

2. ผลกระทบต่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม หากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมปยกตามประเภทของสารมลพิษ ได้แก่

การจัดการมลพิษเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างองค์กรและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสภาพแวดล้อมและสังคมมีความปลอดภัยและมั่นคงหลังจากเกิดอุทกภัย

แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย

  1. งานจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล
    • สำรวจและประเมินความเสียหายของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร และจัดทำรายละเอียดการปรับปรุงซ่อมแซม
    • ปรับปรุงซ่อมแซมระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียรวม
    • นำสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในระหว่างเกิดอุทกภัยไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบบำบัดน้ำเสียแบบเคลื่อนที่ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และสิ่งแวดล้อม
    • ติดตามตรวจสอบระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียรวมภายหลังการฟื้นฟู
  2. งานจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเมือง
    • จัดหาภาชนะรองรับขยะมูลฝอยทดแทนของเดิมที่ชำรุดหรือเสียหาย
    • ดำเนินการเก็บรวบรวมและขนย้ายขยะมูลฝอยที่ตกค้างในพื้นที่ชุมชนเมืองและในแหล่งน้ำต่างๆ ไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหรือสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อป้องกันปัญหา ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
  3. งานฟื้นฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
    • สำรวจและประเมินความเสียหายของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักร และจัดทำรายละเอียดการปรับปรุงซ่อมแซม
    • ปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
    • ติดตามตรวจสอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยภายหลังการฟื้นฟู
  4. การติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษหรือกิจกรรมอื่นที่ถูกน้ำท่วม
    • ตรวจประเมินแหล่งกำเนิดมลพิษหรือสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
    • ให้คำแนะนำเพื่อให้แหล่งกำเนิดมลพิษหรือสถานประกอบการมีการปรับปรุงซ่อมแซม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมดำเนินการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียที่ยังตกค้างอยู่

ที่มา :

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, 2560. แนวทางการจัดการมลพิษ ภายหลังจากสถานการณ์อุทกภัย, 5 สิงหาคม 2566