5 เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
17/08/2023
5 เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
17/08/2023

5 เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
- แหล่งกำเนิดน้ำเสียมาจากไหน? เราต้องดูรู้ว่าน้ำเสียมาจากไหนเพราะต้นกำเนิดน้ำเสียที่ต่างกัน จะทำให้เราเลือกระบบบำบัดน้ำเสียที่ต่างกันได้ เช่น บ้านพักอาศัย โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล จากห้องส้วม ห้องครัว โรงงานอุตสาหกรรม คุณภาพน้ำเสียที่มาจะแตกต่างกัน การเลือกระบบฯจะต่างกันตามแหล่งที่มา
- ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นต่อวันจำนวนเท่าไหร่? หมายถึง ปริมาณน้ำทั้งหมดที่เราใช้ต่อวันเท่าไหร่ เพื่อจะได้ทราบว่าขนาดถังบำบัดน้ำเสีย ควรเลือกขนาดเท่าไหร่ให้เหมาะสม ซึ่งสามารถเทียบเคียง กับมิเตอร์น้ำประปาต่อเดือน แล้วเฉลี่ยออกมาต่อวัน
- เราต้องการระบบบำบัดทางเคมี หรือ ทางชีวภาพ แบบไหนดี? สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียเราจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี จะใช้บำบัดน้ำเสียที่มีสารเคมีปนเปื้อนมา เพื่อลดการปนเปื้อนด้วยวิธีทางเคมีก่อน ส่วนระบบบำบัดทางชีวภาพ จะเป็นระบบบำบัดแบบการเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ เหมาะสำหรับระบบบำบัด อาคารที่พักอาศัย แหล่งที่มาของน้ำมีสารอินทรีย์เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ ดังนั้นต้องรู้ว่าคุณภาพน้ำก่อนเข้าถังบำบัดน้ำเสียของเรา มีสารปนเปื้อนอะไรบ้าง เพื่อจะได้เลือกแบบการบำบัดให้เหมาะสม
- กฎหมาย กฎพระราชบัญญัติต่างๆ ข้อนี้สำคัญมากๆ ก่อนเราจะเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสีย เราศึกษากฎหมายข้อบังคับต่างๆ เช่น คุณภาพน้ำเสียที่ออกจากอาคารประเภท ก และ ข ควรมีมาตรฐาน ค่า BOD ต่ำกว่า 20 มก./ล. ค่า pH 5.5-9.0 ดังนั้นต้องเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยทั่วไป ค่า BOD มากกว่า 30 มก./ล. เราก็เลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศได้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
- ขนาดพื้นที่ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย การดูพื้นที่การติดตั้งจะต้องดูแบบแปลนถังบำบัดน้ำเสียด้วยว่ามีขนาด กว้าง x ยาว x สูงเท่าไหร่ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียได้
สาระน่ารู้
การควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียให้ทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ดูแลควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียต้องทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่
- แบบแปลนการก่อสร้างระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสีย
- รายการประกอบแบบแปลน
- รายละเอียดของเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ
- รายการคำนวณทางด้านวิศวกรรมสุขาภิบาล และต้องสำรวจภาคสนามว่าได้มีการจัดสร้างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในแบบแปลนก่อสร้างหรือไม่ รวมถึงสำรวจสภาพทั่วไป และตรวจสอบการใช้งานของเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอื่นๆ
นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบด้านการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย โดยการเก็บตัวอย่างน้ำและวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียและน้ำทิ้ง เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย และเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงการเดินระบบและการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
การตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย
การตรวจสอบแบบแปลนระบบบำบัดน้ำเสีย หลักเกณฑ์และแนงทางการพิจารณาแบบแปลน แผนผังและคำอธิบายการบำบัดน้ำเสียควรพิจารณาจากเอกสาร ดังนี้
- แหล่งกำเนิดของน้ำเสียจากกรรมวิธีการผลิตต่างๆ
- ลักษณะของลักณะของน้ำเสีย เช่น BOD, COD, SS, VS, TS, N, P, Hg, Cr เป็นต้น
- อัตราการไหลของน้ำเสีย
- กระบวนการบำบัดน้ำเสีย
- รายละเอียดการคำนวณออกแบบระบบบำบัดเสีย
- แบบแปลนการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
- เอกสารประกอบแบบซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดในการก่อสร้าง และรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องจักรกลที่ใช้ในการควบคุม และการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย
ในบางกรณีที่ไม่มีแบบแปลนก่อสร้าง ผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียจะต้องทำการสำรวจข้อมูลทางงภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลดังนี้
- ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย
- หน้าตัดชลศาลตร์
- ขนาดถังปรับเสมอ
- ขนาดของหน่วยบำบัดต่างๆ เช่น ถังเติมอากาศ ถังตกตะกอนน รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรต่างๆ เช่น เครื่องเติมอากาศ เครื่องรีดน้ำตะกอน เครื่องสูบตะกอนกลับ เครื่องกวาดตะกอน เป็นต้น
การตรวจสอบภาคสนาม
การตรวจสอบภาคสนามควบคู่ไปกับแบบแปลนก่อสร้าง โดยแบบแปลนช่วยให้ผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบำบัดน้ำเสียได้ง่ายขึ้น แบบก่อสร้างควรเป็นแบบก่อสร้างจริง (As-Built Drawing) ซึ่งจะมีรายละเอียดตรงตามการก่อสร้างจริง การตรวจสอบภาคสนามมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- การตรวจสอบสภาพทั่วไปของระบบ การตรวจสอบสภาพทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถสรุปได้ดังนี้
- ตรวจสอบสภาพของโครงสร้าง ความแข็งแรง การชำรุด การทรุดตัว การรั่วซึมของถัง ตรวจสอบสภาพของระบบท่อน้ำเสีย ท่อน้ำทิ้ง ท่อตะกอน อุปกรณ์ท่อน้ำ การรั่วซึม ชนิดและขนาดของท่อน้ำเหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องเติมอากาศ เครื่องกวนตะกอนหรืออื่นๆให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานหรือไม่
- ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบควบคุม
- การตรวจสอบของหน่วยบำบัดต่างๆ จากข้อมูลการตรวจสอบแบบแปลนระบบบำบัดน้ำเสีย และการสำรวจสภาพทั่วไปเพื่อประเมินความเหมาะสมว่าแบบแปลนและการก่อสร้างถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่ ให้ทำการตรวจสอบขนาดของหน่วยบำบัดต่างๆ นรายละเอียดการคำนวณ และที่มาของค่าต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบระบบบำบัด ได้แก่
- ตรวจสอบข้อมูล ลักษณะและปริมาณน้ำเสียที่ใช้ในการออกแบบ ความเหมาะสม ถูกต้องกับกระบวนการผลิตหรือชนิดของการประกอบการ
- ตรวจสอบเกณฑ์ในการออกแบบถังปรับเสมอ (Equalization Tank) ซึ่งต้องมีขนาดเพียงพอที่จะปรับอัตราการไหลของน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียได้สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดการช็อคโหลด (Shock Loads) ซึ่งจะทำให้อัตราการไหลแปรปรวน (Fluctuate) ทำให้กระบวนการบำบัดล้มเหลวได้
- ตรวจสอบเกณฑ์ที่ใช้ออกแบบขนาดของหน่วยบำบัดต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ใช้เป็นค่ามาตรฐานในหนังสืออ้างอิงที่เชื่อถือได้ เช่น การตรวจสอบการออกแบบถังเติมอากาศต้องมีขนาดเพียงพอหรือเครื่องเติมอากาศสามารถถ่ายเทออกซิเจนได้ทั่วถึง และมีปริมาณไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร ถังกวน (Mixing Tank) จะต้องมีการกวนที่เหมาะสม ทั้งกวนช้า และกวนเร็ว ถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) ต้องมีลักษณะที่ตะกอนรวมตัวได้ดีและมีการตกตะกอนแยกน้ำใสได้ดี การไหลเข้าและไหลออกของน้ำในถังตกตะกอนไม่ก่อให้เกิดการปั่นป่วน (Turbulence) และอัตราน้ำล้นผิว (Surface Overflow Rate) อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
- การตรวจสอบการใช้งานชของเครื่องจักร และอุปกรณ์ การตรวจสอบการใช้งานเครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการทดสอบว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งสามารถทำหน้าที่ตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ อุปกรณ์เครื่องจักรที่สำคัญในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ เครื่องสูบน้ำในถังปรับเสมอ (Equalization Tank) เครื่องสูบตะกอนกลับ (Return Sludge) เครื่องสูบตะกอนส่วนเกิน (Excess Sludge) เครื่องเติมอากาศ (Aerator) เครื่องกวาดตะกอน เครื่องเติมสารเคมี เครื่องรีดน้ำตะกอน เป็นต้น รายละเอียดของการตรวจสอบมีดังนี้
- เครื่องสูบน้ำในถังปรับเสมอ โดยปรกติเครื่องสูบน้ำที่ทำหน้าที่สูบน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียจะต้องมีอัตราการสูบสอดคล้องกับค่าที่ได้ออกแบบไว้ในระบบ ส่วนใหญ่วิศวกรผู้ออกแบบจะคำนวณขนาดแรงม้า (Horse Power) ของเครื่องสูบน้ำเผื่อไว้มากกว่าปกติประมาณ 25-50% ผู้ควบคุมดูแลจำเป็นต้องทดสอบอัตราการสูบน้ำของเครื่องสูบน้ำ ควบคุมวาล์วปรับการไหล (Control Valve) และตรวจสอบการทำงานของสวิทซ์ลูกลอย (Level Switch)
- เครื่องสุบตะกอนกลับ ที่ทำหน้าที่สูบตะกอนหมุนเวียนจากถังตกตะกอนไปยังถังเติมอากาศเพื่อคุมปริมาณจุลินทรีย์ให้เหมาะสมสามารถย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ผู้ควบคุมดูแลต้องปรับวาล์วอัติโนมัติ (Automatic Valve) เพื่อให้การไหลของตะกอนหมุนเวียนสัมพันธ์กับสัดส่วนของอัตราน้ำเสียเข้า
- เครื่องสูบตะกอนส่วนเกิน ทำหน้าที่สูบตะกอนส่วนเกินนำไปกำจัด ผู้ควบคุมดูแลต้องทดสอบอัตราการสูบน้ำของเครื่องสูบน้ำ ควบคุมวาล์วปรับการไหล (Control Valve) และตรวจสอบการทำงานของสวิทซ์ลูกลอย (Level Switch)
ที่มา :
มงคล ดำรงค์ศรี และสุธา ขาวเธียร, ตำราระบบบำบัดมลพิษน้ำ, พิมพ์ครั้งที่ 9, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, ปี 2562, หน้า 7-1