บทความ

การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
17/08/2023

การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
17/08/2023

การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป

การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียเป็นกระบวนการที่สำคัญในการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียและตรวจสอบความเป็นไปได้ในการปล่อยน้ำเสียออกไปในสภาพแวดล้อมโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนในพื้นที่ใกล้เคียง การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปมีหลายขั้นตอนและอาจแบ่งออกเป็นหลายระดับขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของน้ำเสียที่ต้องการบำบัด ตัวอย่างของขั้นตอนที่อาจเกิดขึ้นได้แก่

  1. การรับตัวอย่างน้ำเสีย น้ำเสียจะต้องถูกสะสมในถังตัวอย่างเพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพและปริมาณต่างๆ ได้ เช่น สี กลิ่น ความขุ่น และความเข้มข้น
  2. การวิเคราะห์ทางทางเคมี การทดสอบน้ำเสียสำเร็จรูปจะต้องทำการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในน้ำเสีย เช่น สารที่มีความเป็นพิษ สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ต่างๆ
  3. การทดสอบทางชีวภาพ การตรวจสอบความสามารถในการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิตที่อาจเป็นอันตรายในน้ำเสีย เช่น แบคทีเรีย และเชื้อรา
  4. การตรวจสอบความเป็นสารพิษ การทดสอบน้ำเสียสำเร็จรูปนี้ต้องตรวจสอบความเป็นสารพิษที่อาจตกค้างในน้ำเสียหลังจากกระบวนการบำบัด เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำที่ถูกปล่อยออกไปไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนในพื้นที่
  5. การทดสอบปริมาณ การตรวจสอบปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ในน้ำเสีย เช่น การวัดความเข้มข้น ปริมาณของน้ำ การละลายแก๊ส และอื่นๆ

การทดสอบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่มีผลลัพธ์ตามเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดจะเป็นการยืนยันว่าระบบบำบัดน้ำเสียทำงานอย่างเหมาะสม และสามารถลดความเสี่ยงในการมีสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนในพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดภัยจากน้ำเสียที่ไม่ได้รับการบำบัดให้เป็นอย่างดี

ลักษณะของถังบำบัดน้ำเสีย
ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่จะขอการรับรอง ต้องมีลักษณะทั่วไป ผนังตัวถังบำบัดน้ำเสีย ความแข็งแรงของผนังแบ่งส่วนในตัวถังบำบัดน้ำเสีย ความไม่รั่วซึม ความทนทานต่อสภาวะสุญญากาศของถังบำบัดน้ำเสีย ความแข็งแรงของถัง ความทนทานต่อแรงกดของฝาถังบำบัดน้ำเสียเป้นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2962-2562

การขอรับการรับรองฉลาก แบ่งเป็น
ฉลากแสดงประสิทธิภาพการบำบัด (ภาคบังคับ)

  1. ถังบำบัดน้ำเสียที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2952-2562 สามารถใช้ผลการทดสอบที่ได้รับจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มายื่นได้
  2. ถังบำบัดน้ำเสียประเภทอื่น สามารถนำผลการทดสอบตามขั้นตอนมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2962-2562 ที่ได้รับจากห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มายืนได้ หรือยืนผลการทดสอบภาคสนามตามแนวทางการทดสอบที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์ “ฉลากถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปประสิทธิภาพสูง” ทั้งนี้ ถังบำบัดน้ำเสียที่มีลักษณะตามขอบข่ายของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป สำหรับอาคารอยู่อาศัย มาตรฐานเลขที่ มอก. 2962-2562 ต้องใช้ผลจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) รับรองเท่านั้น

ฉลากแสดงการกำจัดเชื้อโรคในน้ำทิ้ง (ทางเลือก)

  1. แสดงรายละเอียดผลิตภัณฑ์ รายการคำนวณและรายละเอียดการติดตั้งระบบฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ผลการวัดปริมาตรของน้ำเสียที่ไหลเข้าสู่ถังบำบัดน้ำเสีย และผลการวิเคราะห์ แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria) และแบคทีเรียอิโคไล (Escherichia coli) ในน้ำเสียและน้ำทิ้ง
  2. น้ำทิ้งจากระบบฆ่าเชื้อโรคจะต้องมีแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria) น้อยกว่า 4,000 MPN ต่อ 100 มิลลิลิตร และแบคทีเรียอิโคไล (Escherichia coli) น้อยกว่า 1,000 MPN ต่อ 100 มิลลิลิตร
  3. น้ำเสียที่ใช้ทดสอบเป็นน้ำทิ้งจากถังบำบัดน้ำเสียหรือน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีคุณลักษณะน้ำ ได้แก่ค่าบีโอดี ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และทีเคเอ็น เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้ง โดยมีแบคทีเรียกลุ้มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria) และแบคทีเรียอิโคไล (Escherichia coli) ไม่ต่ำกว่า 106 MPN ต่อ 100 มิลลิลิตร
  4. การเก็บตัวอย่างน้ำเสียและน้ำทิ้งให้เก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (Complete wastewater sample) ในช่วงที่มีอัตราการไหลเฉลี่ยทั้งวันเท่ากับปริมาณการไหลออกแบบจำนวน 20 ค่าโดยวิธีเก็บตัวอย่างน้ำเสียแบบผสมรวม 24 hr. (Complete 24 hr. wastewater sample)

ฉลากแสดงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ทางเลือก)

  1. ให้แสดงรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ผลการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบบำบัด ผลการวัดปริมาตรของน้ำเสียที่ไหลเข้าสู่ถังบำบัดน้ำเสีย ปละผลการวิเคราะห์คุณลักษณะน้ำเสียและน้ำทิ้งตามที่กำหนด
  2. น้ำเสียที่ใช้ทดสอบมีคุณลักษณะน้ำ ได้แก่ ค่าบีโอดี ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และทีเคเอ็นเหมือนกับลักษณะน้ำเสียที่ใช้ทดสอบการขอรับฉลากแสดงประสิทธิภาพการบำบัด
  3. การเก็บตัวอย่างน้ำเสียและน้ำทิ้งให้เก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (Complete wastewater sample) ในช่วงที่มีอัตราการไหลเฉลี่ยทั้งวันเท่ากับปริมาณการไหลออกแบบจำนวน 20 ค่าโดยวิธีเก็บตัวอย่างน้ำเสียแบบผสมรวม 24 hr. (Complete 24 hr. wastewater sample)
  4. คำนวณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามสูตรที่กำหนด โดยต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 370 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี ต่อการบำบัดน้ำเสีย 1 ลูกบาศก์เมตร

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ