หลักเกณฑ์การขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
17/08/2023
หลักเกณฑ์การขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
17/08/2023

หลักเกณฑ์การขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
- กรุงเทพมหานครจะให้บริการบำบัดน้ำเสียแก่อาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียรวมถึงอาคารที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย แต่สามารถต่อเชื่อมท่อน้ำเสียเข้าสู่ระบบรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพ มหานคร ได้
- เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารจะต้องจัดให้มีการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นเพื่อ การตกตะกอน กากของเสีย การแยกขยะ การแยกไขมัน การดักกรวดทราย การกำจัดสารพิษออกจากน้ำเสียก่อนระบายน้ำเสียออกจากอาคาร ทั้งนี้สามารถก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียขั้นต้นขึ้นใหม่หรือปรับปรุงจากระบบบำบัดน้ำเสียเดิมในกรณีที่มีระบบบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว
- การต่อเชื่อมท่อน้ำเสียเข้ากับระบบรวบรวมน้ำเสีย จะต้องต่อเชื่อมท่อน้ำเสียจากอาคารเข้าสู่บ่อพักท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานครโดยตรง ยกเว้นกรณี ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากต้องวางท่อในถนน คลอง ที่สาธารณะ หรือที่เอกชน รายอื่น จะสามารถต่อเชื่อมท่อน้ำเสียลงสู่บ่อพักท่อระบายน้ำสาธารณะของกรุงทพมหานครได้ ซึ่งน้ำเสียจะถูกดักที่บ่อดักน้ำเสียและเข้าสู่โรงควบคุมคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานครต่อไป
- การระบายน้ำเสีย แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
- กรณีต่อเชื่อมท่อน้ำเสียจากอาคารเข้าสู่บ่อพักของระบบรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร โดยตรง จะ สามารถปล่อยได้ตลอดเวลา โดยมีรูปแบบการต่อเชื่อม ตามเอกสารแนบ 1
- กรณีต่อเชื่อมท่อน้ำเสียลงสู่บ่อพักท่อระบายน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานครจะต้องจัดให้มีบ่อหน่วงน้ำเสีย ที่มีขนาดเก็บกักน้ำเสียให้ไม่น้อยกว่า 1 วัน เพื่อชะลอการระบายน้ำเสียให้อยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยแบ่งตามตำแหน่งที่ตั้งของอาคารดังนี้
- อาคารที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตพักอาศัย ให้ระบายน้ำเสียได้ในช่วงระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 15.00 น.
- อาคารที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตพาณิชยกรรม ให้ระบายน้ำเสียได้ในช่วงระหว่างเวลา 24.00 น. ถึง 6.00 น. ทั้งนี้ช่วงเวลาในการระบายน้ำเสีย สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพความเป็นจริงและห้ามมีให้ระบายน้ำเสียออกมาในช่วงฝนตก
- การพิจารณาจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครจะคิดตามปริมาณน้ำใช้ในแต่ละเดือน และจัดเก็บจากอาคารที่ได้รับการบริการบำบัดน้ำเสีย โดยจัดเก็บจากอาคารตามเงื่อนไข ดังนี้
- อาคารที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ไม่ประสงค์จะเดินระบบบำบัดน้ำเสีย โดยได้รับบริการบำบัดน้ำเสียจากกรุงเทพมทานคร
- อาคารที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย แต่ไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาดรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด
- อาคารที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย และประสงค์จะขอรับบริการบำบัดน้ำเสียจากกรุงเทพมหานคร
- การตรวจสอบการระบายน้ำเสีย หากตรวจพบว่าอาคารที่ได้รับการบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครแล้ว ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณท์การขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครที่กำหนด จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป โดยไม่ดำเนินการแก้ใขในระยะเวลาตามสมควรแล้วกรุงเทพมหานครจะพิจารณาระงับการให้บริการบำบัดน้ำเสีย และดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
- การจัดกับค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจะปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ท.ศ. 2547 และจะมีผลบังคับใช้เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มีประกาศให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียแล้วตามกฎหมาย
- อัตราค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร จะกำหนดตามประเภทของอาคาร แบ่งเป็น 13 ประเกท โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ 2
- รายละเอียดประกอบการขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
- กรณีต่อเชื่อมท่อน้ำเสียเข้าสู่บ่อพักท่อรวบรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานครโดยตรง
- หนังสือขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ลงนามโดยเจ้าของอาคาร หรือผู้ครอบครองแหล่งกำนิดน้ำเสีย หรือผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าว โดยยื่นหนังสือขอรับบริการฯ และรายละเอียดประกอบต่อผู้อำนวยการ สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงทพมหานคร
- รายละเอียดและประเภทการใช้อาคาร
- รายการคำนวณปริมาณการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียในปัจจุบัน
- แบบแสดงรายละเอียดของระบบบำบัดน้ำเสียเดิม (ถ้ามี)
- แบบแสดงรายละเอียดของระบบบำบัดน้ำเสียขั้นต้นพร้อมรายการคำนวณ ตามข้อ 2
- แบบแสดงรายละเอียดการต่อเชื่อมท่อน้ำเสียเข้าสู่ระบบรวบรวมน้ำเสีย กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
- แนวการวางท่อจากอาคารไปยังบ่อพักท่อรวบรวมน้ำเสีย
- แบบรายละเอียดการติดตั้งท่อน้ำเสียภายในบ่อพักท่อรวบรวมน้ำเสีย
- รายละเอียดการระบายน้ำเสีย ตามข้อ 4.1
- หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคารหรือผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาใบ กว. ของวิศวกรสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมผู้ออกแบบคำนว
- กรณีต่อเชื่อมท่อน้ำเสียเข้าสู่บ่อพักท่อระบายน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
- หนังสือขอรับบริการบำบัดน้ำเสียของกรุงทพมหานคร ลงนามโดยเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสีย หรือผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลดังกล่าวโดยยื่นหนังสือขอรับบริการฯ และรายละเอียดประกอบต่อผู้อำนวยการสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
- รายละเอียดและประเภทการใช้อาคาร
- รายการคำนวณปริมาณการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียในปัจจุบัน
- แบบแสดงรายละเอียดของระบบบำบัดน้ำเสียเดิม (ถ้ามี)
- แบบแสดงรายละเอียดของระบบบำบัดน้ำเสียขั้นต้นพร้อมรายการคำนวณ ตามข้อ 2
- แบบแสดงรายละเอียดของบ่อหน่วงน้ำเสียพร้อมรายการคำนวณ
- รายละเอียดการระบายน้ำเสีย ตามข้อ 4.2
- หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของอาคารหรือผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาใบ กว. ของวิศวกรสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ผู้ออกแบบคำนวณ
- ค่าใช้จ่ายในการต่อเชื่อมท่อน้ำเสียต่างๆ ผู้ขอรับบริการบำบัดน้ำเสียจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
- หากผู้ขอรับอนุญาตได้ยื่นรายละเอียดเอกสารการขอรับบริการบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้อง ครบถ้วนและปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนดกรุงเทพมหานครจะพิจารณาการขออนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ นับถัดจากวันดังกล่าว
ที่มา : สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร