บทความ

การทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างปลอดภัย
29/08/2022

การทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างปลอดภัย
29/08/2022

การทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างปลอดภัย

การทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างปลอดภัย
หมายถึง ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และมีสภาพอันตรายหรือมีบรรยายกาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถังไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีคล้ายกัน

อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ
การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจ หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือ การระเบิด ไฟจะใช้ออกซิเจนเพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อน หรือ การเกิดสนิม เหล็กใช้ออกซิเจนจากอากาศไปในการเกิดสนิม และ การที่ออกซิเจนถูกใช้ไปในปฏิกิริยาหมัก

ปฏิกิริยาการเผาไหม้ สาเหตุสำคัญของการตายในสถานที่อับอากาศอีกสาเหตุหนึ่งคือ การเกิดไฟ และการระเบิด โดยมีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit) และมีฝุ่นที่ทำให้ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้มขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (LEL)

สิ่งก่อเหตุคือ สารเคมี สี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม สารทำละลาย หรือวัตถุจากธรรมชาติ สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ไอหรือก๊าซที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ในสถานที่อับอากาศสามารถเกิดประกายไฟขึ้นได้ จากการกระทำดังนี้ การเกิดไฟฟ้าช็อต การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ป้องกันการเกิดประกายไฟ การขัด การสูบบุหรี่ การเชื่อมโลหะ

สารพิษ เป็นอันตรายเมื่อมีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สารพิษหลายชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือได้กลิ่น สามารถทำให้เกิดอันตรายใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ ในสถานที่อับอากาศ คือ การระคายเคือง ถึงแม้จะมีสารพิษเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจมีผลกับระบบทางเดินหายใจ หรือระบบประสาทและฆ่าคุณได้ การขาดออกซิเจนจากสารเคมี

เมื่อสารเคมีเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สามารถไปหยุดการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หรือนำไปสู่ปอด และทำให้ร่างกายคุณขาดออกซิเจน เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้ ก๊าซพิษที่ทำให้เกิดอันตรายในสถานที่อับอากาศบ่อยๆ คือคาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ สามารถทำให้ตายได้ โดยการเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีกลิ่นเหม็น และมีพิษ แม้จะมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดในขบวนการอุตสาหกรรม สามารถทำให้หยุดการหายใจ ถ้าเข้าไปในร่างกาย

อันตรายทางกายภาพ ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหว ถ้าอยู่ในสถานที่อับอากาศยิ่งจะมีอันตรายมาก ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวจะต้องถูกล็อคใส่กุญแจ และแขวนป้ายก่อนที่จะเข้าไปทำงานในบริเวณนั้น วาล์วหรือท่อ ทำให้เกิดอันตราย ถ้ามีก๊าซ หรือของเหลวไหลผ่านอาจทำให้เกิดการระเบิด จมน้ำ เกิดพิษ หรือ น้ำร้อนลวก ฯลฯ การถูกดูดจมจะเกิดที่ไซโลที่เก็บเมล็ดพืชผล การขึ้นไปเดินบนเมล็ดพืชผลนั้น อาจทำให้ล้มลงและดูดจมลงไปในเมล็ดพืชผลนั้น เกิดการขาดอากาศหายใจ เสียงดัง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร หรือถึงแม้จะเป็นการชั่วคราวก็จะทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงที่จะบอกทิศทางที่สำคัญ หรือการระวังอันตราย ตกจากที่สูง ในสถานที่อับอากาศ

ทำไมอุบัติเหตุจากการทำงาน ในสถานที่อับอากาศขึงเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุพบว่า

หลักปฏิบัติเมื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ

มาตรการป้องกันอันตราย

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้อนุญาต
ต้องเป็นผู้ที่คอยประเมินความอันตรายในพื้นที่ ออกหนังสืออนุญาตทำงาน อนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศ และวางแผนปฏิบัติงาน ตรวจสอบพื้นที่ก่อนและระหว่างปฏิบัติงาน

ผู้ควบคุมงาน
เป็นผู้ที่วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตราย คอยควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงาน ชี้แจงหน้าที่ วิธีทำงาน การป้องกันอันตราย สั่งหยุดงานชั่วคราวได้ หากพบว่าเกิดความไม่ปลอดภัย

ผู้ปฏิบัติงาน
ตัวผู้ปฏิบัติงานเองต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน แจ้งอันตรายเมื่อรู้สึกว่าเริ่มไม่ปลอดภัย หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และต้องสวมอุปกรณ์ PPE ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน

ผู้ช่วยเหลือ
ในส่วนของผู้ช่วยเหลือนั้น ต้องคอยให้ความช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงาน หากเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ ตรวจสอบรายชื่อและจำนวนผู้เข้าปฏิบัติงาน ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ระหว่างที่อนุญาตให้มีการทำงานในสถานที่อับอากาศนายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

ที่มา : นิตยสาร ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน