บทความ

การเจาะสำรวจและทดสอบดิน
04/12/2022

การเจาะสำรวจและทดสอบดิน
04/12/2022

การเจาะสำรวจและทดสอบดิน

เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลลักษณะชั้นดิน และคุณสมบัติของดินในบริเวณสถานที่ กำจัดมูลฝอย โดยการเจาะหลุมดิน เก็บตัวอย่างดิน ทดสอบคุณสมบัติดินทั้งในสนามและห้อง ปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการติดตั้งบ่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ และ ประเมินการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอย โดยจะต้องดำเนินการดังนี้

  1. วิธีการเจาะสำรวจดิน
    ทำการเจาะดินในบริเวณโดยรอบ(ไม่ผ่านชั้นมูลฝอย) อย่างน้อยจำนวน 2 หลุม ที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่าก้นหลุมมูลฝอย หรือไม่น้อยกว่าหินอุ้มน้ำชั้นแรก การเจาะสำรวจจะทำโดยใช้เครื่องเจาะแบบหมุนติดระบบไฮโดรลิก โดยในช่วง 1-2 เมตรแรก ใช้ Power Auger และที่ระดับลึกลงไปใช้วิธีเจาะแบบ Wash Boring จนกระทั่งสิ้นสุดการเจาะสำรวจ
  2. การเก็บตัวอย่างดิน
    1. 2.1 การเก็บตัวอย่างดินคงสภาพ (Undisturbed Sample) ตามมาตรฐาน ASTM D-1587 จะทำการเก็บอย่างดินโดยใช้กระบอกบาง ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 75 เซนตเมตร ทำการเก็บตัวอย่างทุกระยะ 1.50 เมตร ทุกหลุมในชั้นดินเหนียวอ่อนกึ่งแข็ง ตัวอย่างดินที่ถูกเก็บขึ้นมาจากหลุม เจาะจะถูกบันทึกชนิดดินและสีด้วยสายตา (Visual Classification) ก่อนจะปิดปลายกระบอกทั้งสอง ข้างด้วยขี้ผึ้งร้อนเพื่อป้องกันความชื้นสูญหาย หมายเลขตัวอย่าง ความลึก วันที่เก็บตัวอย่าง ชื่อหลุม เจาะ ชื่อโครงการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะถูกบันทึกลงบนกระดาษติดกระบอกบางทุกกระบอก ก่อนส่งเข้าห้องทดลองต่อไป
    2. 2.2 การเก็บตัวอย่างดินเปลี่ยนสภาพ (Disturbed Sample) การเก็บตัวอย่างดินเปลี่ยน สภาพจะกระทำพร้อมกับการทดสอบ Standard Penetration Test (SPT) ตามมาตราฐาน ASTM D-1586 โดยจะทำการทดสอบทุกระยะ 1.50 เมตร การทดสอบจะกระทำการโดยใช้ลูกตุ้มที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ยกสูง 30 นิ้ว ปล่อยกระแทกกระบอกผ่า (Split Spoon Sample) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว บันทึกจำนวนครั้งของการกระแทกลูกตุ้มที่กระบอกผ่าจมลงไปทุก 6 นิ้วรวม 3 ครั้งผลรวมจำนวนครั้ง ของการกระแทก 2 ครั้งสุดท้ายจะเป็นค่า SPT-N ที่มีหน่วยเป็นครั้งต่อฟุต ตัวอย่างจะถูกบันทึกชนิด ดิน สีและเก็บใส่ภาชนะป้องกันความชื้นสูญหาย ทำการบันทึกชื่อโครงการ ชื่อหลุม ความลึก หมายเลขตัวอย่าง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องลงในสลาก ปิดปากถุงให้แน่น เพื่อนำไปเข้าห้องทดลองต่อไป
    3. 2.3 การบันทึกระดับน้ำใต้ดินธรรมชาติในระหว่างการเจาะสำรวจต่อวัน จะมีการตรวจวัด บันทึกระดับน้ำในหลุมเจาะก่อนเริ่มงานเจาะทุกเช้า และภายหลังการเจาะสำรวจแล้วเสร็จเมื่อได้ทำ การถอนท่อเหล็ก (casing) กันดินพังแล้ว 1 วัน จะมีการบันทึกเป็นครั้งสุดท้าย การตรวจวัดระดับน้ำ จะวัดจากระดับปากหลุมเจาะลงไปถึงระดับน้ำที่พบในหลุมและลงวันที่และเวลาทุกครั้ง ภายหลังการเจาะสำรวจเก็บ, ตัวอย่างดิน และตรวจวัดระดับน้ำในหลุมเจาะเสร็จสิ้น จะทำ การกลบหลุมเจาะสำรวจเพื่อป้องกันน้ำชะสิ่งปนเปื้อนลงไปในหลุมเจาะ
  3. การทดสอบตัวอย่างดินในห้องทดลอง
    ตัวอย่างดินที่ได้จากการสำรวจทั้งหมด จะถูกนำมาคัดเลือก และนำไปทดลองหาคุณสมบัติ ของดินแต่ละชั้นดังนี้ • Atterberg’s Limit เลือกทดสอบกับดินเหนียวและดินปนทราย ชั้นละ 1-2 ตัวอย่าง ตามมาตรฐาน ASTM D-423, 424 • Sieve and Hydrometer Analysis เลือกทดสอบกับทรายหรือดินปนทราย ชั้นละ 1-2 ตวอย ั าง่ ตามมาตรฐาน ASTM D-422 • Natural Water Content ทดสอบทุกตัวอย่าง Unit Weight ทดสอบจากตัวอย่างดินทุกตัวอย่างที่สามารถทดสอบได้ • Unconfined Compression Test เลือกทดสอบจากตัวอย่างดินจากกระบอกบางทุกตัวอย่าง ตามมาตรฐาน ASTM D-2186 เมื่อได้ข้อมูลลักษณะ คุณสมบัติและชั้นดิน สามารถนำมาวางแผนในการติดตั้งบ่อตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยจะทำการติดตั้งบ่อตรวจสอบในชั้นน้ำใต้ดินชั้นแรกที่พบจากพื้นล่างสุดของกองมูลฝอย และจะนำการวางปลายท่อที่ได้ทำการเซาะร่องเป็นท่อตะแกรง (Screen) อยู่ในระดับชั้นน้ำใต้ดินที่ต้องการเก็บตัวอย่าง

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ