บทความ

แสงสว่างในที่ทำงาน
04/02/2023

แสงสว่างในที่ทำงาน
04/02/2023

แสงสว่างในที่ทำงาน

แสงสว่างในที่ทำงาน

ในสถานที่ทำงาน ปัจจัยที่ช่วยทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือสภาพแวดล้อมที่ดีที่อยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่เพื่อนร่วมงานที่ดี ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟ้ฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยทำให้เราผ่อนคลาย เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยทำให้เราทำงานออกมาได้ดี และหนึ่งในสิ่งที่ควรตระหนักเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวนี้ ก็คือ มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงาน

มาตรฐานแสงสว่างในที่ทำงาน เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อทำให้การใช้ไฟในสถานที่ทำงานไม่ถูกใช้ไปมากเกินไป รวมถึงยังช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีสมาธิและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งความสว่างออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. ความส่องสว่าง (อิลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร หรือ ลักซ์
  2. ความสว่าง (ลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร

แสงสว่างกับการมองเห็นของมนุษย์
แสงสว่างเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการมองเห็นของมนุษย์ การมองเห็นจะเกิดขึ้นมิได้ถ้าปราศจากแสง แสงสว่างจึงเป็นปัจจัยสำคัญมากในการมอง การรับรู้ และการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย อย่างไรก็ตามแสงสว่างนอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญในการมองเห็นแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆที่สำคัญคือ

  1. ความสามารถในการมองเห็นของดวงตา สิ่งที่ทำให้ความสามารถในการมองเห็นของดวงตา ลดลง เช่น ตาอักเสบ อาการเมื่อยตาจากการได้รับแสงสว่างมากจนเกินไปสายตาเอียงจนท าให้การโฟกัสของภาพไม่เท่ากัน สายตาสั้น สายตายาว สายตาไม่สู้แสงหรือตาบอดชั่วคราวจากการได้รับแสงจ้ามาก เกินไป ฯลฯ
  2. ความสว่างของวัตถุหมายถึงปริมาณการส่องสว่างที่สะท้อนออกมาจากพื้นผิวของวัตถุ พื้นผิวที่สว่างจะมีการส่องสว่างมากกว่าพื้นผิวที่มืด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงสว่างภายนอก สัดส่วนของแสงที่หักเหในระดับที่ตามองเห็นด้วย
  3. ขนาดและรูปร่างของวัตถุ ถ้าวัตถุมีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ง่ายกว่าวัตถุที่มีขนาดเล็กในระยะที่เท่ากัน
  4. ความแตกต่างระหว่างวัตถุกับฉากหลัง ฉากหลังที่มืดจะมองเห็นวัตถุได้ชัดเจนน้อยกว่าฉากหลังที่สว่าง
  5. การเคลื่อนที่ของวัตถุ ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนไหวเร็วมาก สายตาก็ไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวได้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน บอกรายละเอียดของภาพไม่ได้ เช่น ภาพรถยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ฯลฯ
  6. สี แต่ละสีจะสะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน กลุ่มของวัตถุที่มีสีอ่อนจะสะท้อนแสงได้มากกว่าวัตถุที่มีสีเข้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างวัตถุกับฉากด้วย

อันตรายของแสงสว่างและผลกระทบต่อสุขภาพ
อันตรายของแสงสว่างนั้นมีผลกระทบต่อคนทำงาน ในกรณี แสงสว่างน้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อนัยน์ตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป เพราะบังคับให้รูม่านตาเปิดกว้างขึ้น เนื่องจากการมองเห็นนั้นไม่ชัดเจน ต้องใช้เวลาในการมองรายละเอียดนานขึ้น ทำให้เกิดความเมื่อยล้าของนัยน์ตาที่ต้องเพ่งชิ้นงาน เกิดอาการปวดตา มึนศีรษะ การหยิบจับโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์อาจผิดพลาดทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ หรือไปสัมผัสถูกส่วนที่เป็นอันตราย และในกรณีแสงสว่างที่มากเกินไป จะทำให้ผู้ทำงานเกิดความไม่สบาย เมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ กล้ามเนื้อ หนังตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ การมองเห็นแย่ลง ซึ่งทั้งแสงสว่างน้อยเกินไปและมากเกินไป

นอกจากจะก่อให้เกิดผลทางจิตใจ คือเบื่อหน่ายในการทำงาน ขวัญและกำลังใจในการทำงานลดลงแล้ว ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกิดขึ้นได้

ความสำคัญของการจัดแสงสว่างในสถานประกอบการ

  1. ความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงาน การจัดแสงสว่างให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสบายตา ลดอันตรายที่เกิดขึ้นที่ดวงตา ลดอุบัติเหตุจากการทำงานอันเนื่องมาจากการมองเห็นไม่ชัดเจน ปัญหาของแสงสว่างที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น กรณีแสงสว่างในการทำงานน้อยเกินไป จนทำให้เกิดความเมื่อยล้า ปวดตา มึนศีรษะ ปฏิกิริยาในการตอบสนองเพื่อหลบหลีกสิ่งที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ไม่ทันการณ์ เกิดภาวะตาไม่สู้แสง (Minor Nystagmus) ส่วนกรณีที่แสงสว่างมากเกินไป ซึ่งเกิดจากแหล่งกำเนิดแสงโดยตรง (Direct Glare) หรือเกิดจากการสะท้อนของแสง (Reflected Glare) ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเมื่อยล้าสายตาปวดตา มึนศีรษะ กล้ามเนื้อหนังตากระตุก การมองเห็นลดลง เช่น การมองแสงจากการเชื่อมโลหะโดยตรง จะทำให้เกิดจุดสว่างที่ในดวงตาหลังการมอง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสงสว่างนอกจากจะมีผลกระทบต่อผู้ทำงานในเรื่องการได้รับแสงสว่างน้อย หรือมากเกินไปแล้ว ยังอาจได้รับอันตรายของแสงที่ไม่อยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ เช่น อันตรายจากแสงเหนือม่วง ทำให้นัยน์ตาอักเสบ ตาแดง เยื่อบุตาชั้นในถูกทำลาย ทำให้มองเห็นไม่ชัด พบในงานเชื่อมโลหะ งานก่อสร้างกลางแจ้ง ฯลฯ อันตรายจากแสงใต้แดง ทำให้ตาดำขุ่น เกิดเป็นต้อกะจกจากความร้อน พบในงานอุตสาหกรรมเป่าแก้ว งานหลอมโลหะ งานเชื่อมชนิดต่างๆ ฯลฯ
  2. ความสำคัญต่อเจ้าของสถานประกอบการ สถานประกอบการสามารถเพิ่มผลผลิตจาก ผู้ปฏิบัติงานที่มีขวัญและกำลังใจที่ดี มีความรู้สึกว่าเจ้าของสถานประกอบการเอาใจใส่ในการ ดูแลสุขภาพความปลอดภัยของตน นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายจากความสูญเสียต่างๆ เช่น อุบัติเหตุจากการทำงานอันเนื่องมาจากการมองไม่เห็น ฯลฯ

ที่มา :
จิตติมา วีระเดชเกรียงไกร และคณะ.(2543).คู่มือการตรวจความดันและประเมินสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ.กรุงเทพฯ: ร้อยสิบเอ็ดธุรกิจ.
ประมุข โอศิริ.(2551). การตรวจวัดและการประเมินความสั่นสะเทือน แสงสว่าง และความดันบรรยากาศ.เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การประเมิน หน่วยที่6 - 10 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
สมบุญ จิรชาญชัย และสุชาติ วิริยะอาภา.(2534). การฝึกปฏิบัติการประเมินอันตรายจากรังสีและแสง.เอกสารการสอนชุดวิชาการฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและเออร์กอนอมิคส์หน่วยที่ 1 - 8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมโภช เปลี่ยนบางยาง.(2533). แสงสว่างในสถานประกอบการ.เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมพื้นฐาน หน่วยที่1 - 8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.