บทความ

มาตรฐานด้านสถานที่ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
19/06/2023

มาตรฐานด้านสถานที่ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
19/06/2023

มาตรฐานด้านสถานที่ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเที่ยม (Hemodialysis) เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal disease) ที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีจึงเป็นการรักษาที่แพร่หลายในประเทศไทย อย่างไรก็ตามผลของการรักษาโดยวิธีนี้ขึ้นกับคุณภาพและมาตรฐานของกระบวนการให้การรักษาและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งหากการรักษาไม่ได้คุณภาพขาดมาตรฐานอาจมีอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงขั้นสูญเสียชีวิตหรือพิการได้ ดังนั้นการดูแลมาตรฐานการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และคุ้มค่าใช้จ่าย

มาตรฐานด้านสถานที่ในการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

  1. ต้องมีพื้นที่หน่วยบริการเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อ 1 หน่วยบริการ
  2. ต้องมีการแยกพื้นที่เฉพาะสำหรับห้องเตรียมน้ำบริสุทธิ์ออกจากพื้นที่บริการ
  3. ต้องมีการแยกพื้นที่เฉพาะสำหรับล้างตัวกรองออกจากพื้นที่บริการ และพื้นที่ห้องเตรียมน้ำบริสุทธิ์
    3.1 พื้นที่ล้างตัวกรองต้องมีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม
    3.2 ในกรณีที่มีการล้างตัวกรองในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและตับอักเสบซีต้องมีการแยกอ้างล้างตัวกรองติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีออกจากไวรัสตับอักเสบซี และอ่างล้างตัวกรองไม่ติดเชื้อ โดยตั้งอ่างล้างห้างกันหรือมีผนังกั้นที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนข้ามอ่าง
  4. ต้องมีอ่างล้างมือสำหรับผู้ป่วยก่อนเข้ารับการฟอกเลือด
  5. ต้องมีพื้นที่ห้องพักของพยาบาลเป็นสัดส่วน
  6. ต้องมีเตียงนอนหรือเปลเข็นนอนสำหรับผู้ป่วยอย่างน้อย 1 เตียงในกรณีฉุกเฉินช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
  7. ต้องมีระบบการควบคุมการติดเชื้อในหน่วยไตเทียม
  8. ต้องมีระบบการกำจัดขยะติดเชื้อ
  9. ควรมีระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับน้ำที่ผ่านการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเที่ยม
  10. ควรมีการแยกพื้นที่ห้องเก็บของ

น้ำทิ้งจากหน่วยไตเทียม
หน่วยไตเทียมมักก่อให้เกิดน้ำเสียที่มีปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเสียในรูปแบบของค่า บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD) ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand, COD) หรือ ทีโอซี (Total Organic Carbon, TOC) สูงเกินเกณฑ์ตามมาตรฐาน

น้ำทิ้งจากหน่วยไตเทียมมี 3 ส่วน คือ

  1. น้ำทิ้งจากระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ (Reverse Osmosis : RO) คือ น้ำทิ้งที่เกิดจากการผลิตน้ำบริสุทธิ์เป็นน้ำทิ้งที่มีค่าสารประกอบในน้ำและค่าเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Conductivity) สูงกว่าน้ำประปาแต่ไม่ใช่น้ำเสีย
  2. น้ำทิ้งที่เกิดจากการฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีในระบบน้ำ RO โดยใช้น้ำยาที่ใช้ฆ่าเชื้อ เช่น Chlorine, Sodium hypochlorite, Formaldehyde, Peracetic acid เป็นต้น
  3. น้ำทิ้งที่เกิดจากเครื่องไตเทียมขณะทำการฟอกเลือด แบ่งได้เป็น 2 ส่วน
    3.1 น้ำทิ้งจากน้ำยาไตเทียม ซึ่งน้ำยาไตเทียมที่ใช้ คือ Part A (Acid concentrate) มีสภาวะเป็นกรด และ Part B (Bicarbonate concentrate) มีสภาวะเป็นด่าง โดยเครื่องไตเทียมจะดูดน้ำยาทั้ง 2 ชนิดเข้าไปผสมกับน้ำ RO เพื่อทำการแลกเปลี่ยนของเสียกับคนไข้ และจะมีน้ำทิ้งขณะทำการฟอกเลือด โดยน้ำทิ้งจะประกอบด้วยน้ำยาไตเทียมและของเสียจากคนไข้ เช่น Urea, Creatinine เป็นต้น
    3.2 น้ำทิ้งจากน้ำยาฆ่าเชื้อ คือ หลังการฟอกเลือดจะมีการฆ่าเชื้อที่เครื่องไตเทียมด้วยสารเคมี เช่น น้ำยา Sodium hypochlorite, Diasteril (Glycolic acid), Citrosteril (Citric acid)

ดังนั้นหน่วยไตเทียมต้องมีระบบการควบคุมการติดเชื้อในหน่วยไตเทียมเพื่อป้องกันการติดเชื้อของ Vascular Access หรือการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วย เช่น มีอ่างล้างมือสำหรับผู้ป่วยก่อนเข้ารับการฟอกเลือดนอกจากนั้นหน่วยไตเทียมควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมโดยจะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียและระบบการจำกัดขยะติดเชื้อซึ่งอาจใช้ร่วมกับระบบของสถานพยาบาล

ที่มา : เกณฑ์การตรวจรับรองมาจรฐานการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. แพทยสภา.